วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันพ่อทั่วโลก

วันพ่อแห่งชาติ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันพ่อแห่งชาติ เป็นวันสำคัญสัมพันธ์กับวันแม่แห่งชาติ ในการฉลองความเป็นพ่อและบุคคลที่นับถือในการเป็นพ่อ โดยจึงกำหนดเป็นวันหยุดวันพ่อแห่งชาตินั้นทั่วโลกจะมีการจัดแตกต่างกันไป โดยในประเทศไทยจัดตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี โดยในกว่า 50 ประเทศจะจัดวันอาทิตย์ที่สามของเดือนมิถุนายน
จอห์น บี. ดอดด์ ชาวอเมริกันเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดของวันพ่อแห่งชาติ โดยเริ่มต้นที่เมืองแฟร์มอนต์ รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 ในโบสถ์แห่งหนึ่งในแฟร์มอนต์


วันพ่อของทุกมุมโลก
6 มกราคม เซียเบีย("Paterice")*
23 กุมภาพันธ์ รัสเซีย (Defender of the Fatherland Day)*
19 มีนาคม แอนโดรา โบลิเวีย ฮอนดูลัส อิตาลี มาเก๊า โปรตุเกส สเปน
อาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม โรมาเนีย
8 พฤษภาคม เกาหลีใต้(Parents' Day)
อาทิตย์ที่สามของเดือนพฤษภาคม ตองกา
Ascension Day เยอร์มัน
อาทิตย์ที่หนึ่งของเดือนมิถุนายน ลิทิวเนีย
5 มิถุนายน (Constitution Day) เดนมาร์ค
อาทิตย์ที่สองของเดือนมิถุนายน ออสเตรีย แบงกาเรีย
อาทิตย์ที่สามของเดือนมิถุนายน แอนทิกัว อาเจนตินา บาฮามาส แคนนาดา จีน โคลัมเบีย
คอสตาลิกา เช็ค ฝรั่งเศส กานา กรีก
แฮงการี ไอร์แลนด์ จาไมก้า ญี่ป่น มาเลเซีย มาลี แม็กซีโก
เมียนม่าร์ ฮอลเลนส์ ปากีสถาน ปานามา เปรู ฟิลปปินส์ สิงค์โปร์ สโลวาเกีย แอฟฟิก้าใต้
ศรีลังกา สวิสเซอร์แลนด์ ตุรกี ยูเครน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เวนาซูอาลา ซิมบัสวา
17 มิถุนายน เอ สวาดอร์ กัวเตมาลา
21 มิถุนายน อียิบป์ เลบานอน จอร์เดน ซีเลีย อูเกนดา
23 มิถุนายน นิคารากัว โปร์แลนด์
อาทิตย์สุดท้ายของเดือนมิถุนายน เฮติ
อาทิตย์ที่สองของเดือนกรกฏาคม ยูเกนดา
อาทิตย์สุดท้ายของเดือนกรกฏาคม โดนิมิกัน
อาทิตย์ที่สองของเดือนสิงหาคม บราซิล ไต้หวัน
อาทิตย์แรกของเดือนกันยายน ออสเตรีย ฟิจิ นิวซีแลนด์ ปาปูนิวกีนี
วัน Kushe Aunshi – Bwaako Mukh Herne Din बुवाको मुख हेर्ने दिन (कुशे औंशी) เนปาล
อาทิตย์ที่แรกของเดือนตุลาคม ลักแซมเบริก อาทิตย์ที่สองของเดือนพฤศจิกายน แอสโตเนีย ฟินแลนด์ Iไอซ์แลนด์ นอร์แวย์ สวีเดน
5 ธันวาคม ไทย
26ธันวาคม แบงกาเรีย

ปฏิทินอิสลามIslam calendar Definition Sample datesCountry

วันที่ 13 Rajab อิเหรน ปากีสถาน

วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (วันพ่อแห่งชาติ)

ที่มา : หนังสือวันสำคัญ โครงการปีรณรงค์วัฒนธรรมไทยและแนวทางในการจัดกิจกรรมโดย : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการรวบรวมโดย : สถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก







ความหมาย
วันที่ระลึกคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ พระผู้ทรงกอปด้วยพระวิริยะอุตสาหะ บำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานับประการ อันเป็นคุณประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติ ด้วยพระราชประสงค์ที่จะให้ประชาชนทุกหมู่เหล่า ไม่เลือกชาติ ศาสนา ที่อยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารและประเทศชาติ มีความผาสุข และเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น ตามที่ได้มีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งประชาชนชาวสยาม”




ความหมาย
วันที่ระลึกคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ พระผู้ทรงกอปด้วยพระวิริยะอุตสาหะ บำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานับประการ อันเป็นคุณประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติ ด้วยพระราชประสงค์ที่จะให้ประชาชนทุกหมู่เหล่า ไม่เลือกชาติ ศาสนา ที่อยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารและประเทศชาติ มีความผาสุข และเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น ตามที่ได้มีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งประชาชนชาวสยาม”
ความเป็นมา
พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาคือพระราชพิธีคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชดำริจัดมีขึ้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ว่า
“การทำบุญวันเกิดทุก ๆ ปีในเมื่อบรรจบรอบตามทางสุริยคติกาล เช่นทำกันอยู่ทุกวันนี้เกิดขึ้น โดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทำเป็นต้นเดิมมาแต่ยังทรงผนวชใช่ว่าจะตามอย่างจีนหรือฝรั่ง ด้วยทรงพระราชดำริเห็นว่าการซึ่งมีอายุมาถึงบรรจบครบรอบปีไม่ตายไปเสียก่อนเป็นลาภอันอุดมอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ควรยินดี เมื่อผู้มารู้สึกยินดีเช่นนั้นก็ควรจะบำเพ็ญกุศลซึ่งเป็นประโยชน์ตนและผู้อื่น สมกับที่มีน้ำใจยินดี และควรที่จะทำใจให้เป็นที่ตั้งแห่งความไม่ประมาท ด้วยไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่า จะอยู่ไปบรรจบรอบปีเช่นนี้อีกหรือไม่ ควรที่จะบำเพ็ญการกุศลและประพฤติหันหาสุจริตธรรม วันเกิดปีหนึ่งเป็นเครื่องเตือนใจครั้งหนึ่ง ให้รู้สึกว่าอายุล่วงไปใกล้ต่อมรณะอีกก้าวอีกขั้นหนึ่ง เมื่อรู้สึกมีเครื่องเตือนเช่นนี้ ก็จะได้บรรเทาความเมาในชีวิต ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นตัวอกุศลธรรมนั้นเสีย...”
ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันเฉลิมพระชนมพรรษาตั้งแต่ยังทรงผนวชอยู่นั้น มีแต่สวดมนต์เลี้ยงพระ ๑๐ รูป เมื่อเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้วก็ยังทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเพียงเจริญพระพุทธมนต์และเลี้ยงพระเหมือนครั้งทรงผนวช เพิ่งจะทรงทำเป็นพิธีใหญ่เมื่อเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา เป็นงาน ๓ วัน มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ที่ท้องพระโรง ๖๐ รูปเท่าพระชนมายุ ให้เจ้านายและข้าราชการทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระทุกวังทุกบ้าน เสด็จออกพระที่นั่งอนันตสมาคมคล้ายออกแขกเมือง เจ้านายและขุนนางอ่านคำถวายพระพรชัยมงคล แล้วพระราชทานเหรียญทองคำตรามงกุฎแก่ข้าราชการ มีเทศนา ๕ กัณฑ์ และสรงมุรธาภิเษก
รัชกาลต่อ ๆ มาได้ถือเป็นราชประเพณีแต่ได้เปลี่ยนแปลงตามกาลสมัยของแต่ละรัชกาล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาได้กำหนดดังนี้
เสด็จออกมหาสมาคม
วันที่ ๕ ธันวาคม เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตไปยังพระบรมมหาราชวัง เสด็จฯเข้าสู่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนถวยสักการะพระสยามเทวาธิราช แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยทางพระทวารเทวราชมเหศวร์(ในรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน เจ้าจอม หม่อมห้าม ข้าราชการท้าวนางและสตรีผู้มีบรรดาศักดิ์เฝ้าฯ ถวายพระพรในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ เมื่อเสด็จออกรับคำถวายพระพรของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าและข้าราชการในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยแล้วจึงเสด็จเจ้ารับคำถวายพระพรของฝ่ายใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนราชประเพณีให้ฝ่ายในทั้งหมดมีตำแหน่งเฝ้าฯ ร่วมกับฝ่ายหน้า) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์บนพระราชบัลลังก์ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ที่โต๊ะเคียงด้านขวาทอดพระมหาพิชัยมงกุฎและพานทองคำลงยาวางแผ่นกระดาษพระราชดำรัส ที่ด้านซ้ายทอดพานพระขันหมากและพระสุพรรณศรีทอดพระสุพรรณราชที่ฐานเขียงพระแท่น
ราชบัลลังก์ ตั้งต้นไม้ทอง - เงิน สี่มุมพระราชบัลลังก์หลังพระราชบัลลังก์พนักงานเครื่องสูงถวายอยู่งานพัดโบกคู่หนึ่ง มีมหาดเล็กเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์คือ พระมาลาและพระคทาจอมทัพ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร พระแส้หางช้างเผือก พัดวาลวิชนีเข้าริ้วยืนเฝ้าฯ ตามตำแหน่ง
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์เฝ้าฯ ณ เบื้องซ้ายพระราชบัลลังก์นายทหารรักษาพระองค์ทุกเหล่าและราชองครักษ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ในราชสำนักเฝ้าฯ เบื้องขวาพระราชบัลลังก์ เมื่อพร้อมแล้วเลขาธิการพระราชวังถวายความเคารพขอพระบรมราชานุญาตให้มหาดเล็กรัวกรับให้สัญญาณชาวม่านไขเปิดพระวิสูตร ตำรวจหลวงชูพุ่มให้สัญญาณถวายความเคารพ พนักงานกระทั่งแตรมโหระทึกทหารกองเกียรติยศที่ตั้งอยู่หน้าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทหารบก (ยิงที่ท้องสนามหลวง) ทหารเรือ (เรือรบหลวงยิงที่หน้าท่าราชวรดิษฐ์) ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติฝ่ายละ ๒๑ นัด พระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ข้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายความเคารพ ครั้นสุดเสียงประโคมแล้วพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์สยามมกุฎราชกุมารบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลแทนพระบรมวงศานุวงศ์ นายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลแทนคณะรัฐมนตรี ประธานรัฐสภากราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบ จบแล้ว มหาดเล็กรัวกรับ ตำรวจหลวงชูพุ่มดอกไม้ทอง ชาวม่านไขปิดพระวิสูตร ทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ชาวพนักงานประโคมเช่นเวลาเสด็จออก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงจากพระแท่นราชบัลลังก์นพปฎลมหาเศวตฉัตร แล้วเสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาลทักษิณทางพระทวารเทวราชมเหศวร์พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินนี




งานพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคม แต่งกายเครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายมหาจักรี สายสร้อยจุลจอมเกล้า
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเฉลิมพระชนมพรรษา
บ่ายวันที่ ๕ ธันวาคม เจ้าพนักงานตกแต่งพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยเป็นที่ประกอบพิธีสงฆ์ที่พระแท่นราชบัลลังก์นพปฏลมหาเศวตฉัตรเชิญ พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์รัชกาลปัจจุบันขึ้นประดิษฐานบนโต๊ะหมู่ ตั้งพระกรัณฑ์ทองคำลงยาบรรจุพระสุพรรณบัฏพระดวงพระบรมราชสมภพมีพานทองคำลงยารองรับคลุมด้วยปักดิ้นทอง ทอดพระมหาสังข์ทักษิณาวัฎ และครอบพระกริ่งสำหรับทำน้ำพระพุทธมนต์ถวายสรง บนฐานเขียงพระแท่นราชบัลลังก์ด้านหน้าตั้งเชิงเทียนปักเทียนพระมหามงคลคู่ ๑ (เทียนพระมหามงคล ขี้ผึ้งหนัก ๘ บาท หมายถึงมงคล ๘ ประการ ไส้ ๓๒ เส้น สูงเท่ากับความยาวของรอบพระเศียร) ข้างซ้ายตั้งเทวรูปชื่อพระราชมุทธาธรเชิญหีบพระราชลัญจกร ข้างขวาตั้งเทวรูปชื่อพระราชบันฦาธารเชิญพระแสงพระราชพิธี สี่มุมพระแท่นราชบัลลังก์ตั้งต้นไม้ทอง - เงิน และตั้งพานพุ่มดอกไม้แจกัน ดอกไม้รอบฐานพระแท่น
ด้านข้างขวาพระแท่นราชบัลลังก์นพปฎลมหาเศวตฉัตร ตั้งตู้เทียนเท่าพระองค์ (เทียนเท่าพระองค์ ขี้ผึ้งหนักเท่าพระชนมายุ ไส้ ๓๒ เส้น สูงเท่าพระองค์) ยอดตู้ทรงมงกุฎและตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระพุทธรูปเทวรูปนพเคราะห์องค์เสวยพร้อมด้วยดอกไม้สี ธูปเทียนตามกำลังของเทวรูปนพเคราะห์องค์แทรก พร้อมด้วยดอกไม้สี ธูปเทียนตามกำลังของเทวรูป
หน้าพระแท่นราชบัลลังก์นพปฏลมหาเศวตฉัตรทอดเครื่องนมัสการพานทองสองชั้นและเครื่องนมัสการลงยารองพร้อมที่ทรงกราบ ทอดพระราชอาสน์และเครื่องราชูปโภคตั้งอาสนสงฆ์สำหรับพระสงฆ์ที่จะรับพระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์ และที่จะเจริญพระพุทธมนต์ ตั้งโต๊ะปูผ้าขาววางผ้าไตร พัดยศ และเครื่อง
ยศสมณศักดิ์ พร้อมทั้งตั้งเก้าอี้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทุกฝ่ายเฝ้าฯ
ส่วนที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่ชานหน้าพระอุโบสถตั้งโต๊ะปูผ้าขาวสำหรับบรรพชิตญวนและจีนวางเครื่องดอกไม้เงิน – ทองในการถวายพระพร
ภายในพระอุโบสถที่ข้างธรรมาสน์ศิลาตั้งตู้เทียนเท่าพระองค์คู่ ๑ บนธรรมาสน์ศิลาตั้งเทียนพระมหามงคลคู่ ๑ หน้าธรรมาสน์ศิลาทอดเครื่องนมัสการทองใหญ่และเครื่องนมัสการทองทิศพร้อมที่ทรงกราบแนวผนังด้านเหนือตั้งอาสนสงฆ์สำหรับพระสงฆ์ ๕ รูป สวดนวัคคหายุสมธัมม์(เป็นประเพณีมาแต่รัชกาลที่ ๔ กำหนดให้เป็นหน้าที่พระสงฆ์วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม สวดนวัคคหายุสมธัมม์) หน้าความเป็นมา
พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาคือพระราชพิธีคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชดำริจัดมีขึ้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ว่า
“การทำบุญวันเกิดทุก ๆ ปีในเมื่อบรรจบรอบตามทางสุริยคติกาล เช่นทำกันอยู่ทุกวันนี้เกิดขึ้น โดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทำเป็นต้นเดิมมาแต่ยังทรงผนวชใช่ว่าจะตามอย่างจีนหรือฝรั่ง ด้วยทรงพระราชดำริเห็นว่าการซึ่งมีอายุมาถึงบรรจบครบรอบปีไม่ตายไปเสียก่อนเป็นลาภอันอุดมอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ควรยินดี เมื่อผู้มารู้สึกยินดีเช่นนั้นก็ควรจะบำเพ็ญกุศลซึ่งเป็นประโยชน์ตนและผู้อื่น สมกับที่มีน้ำใจยินดี และควรที่จะทำใจให้เป็นที่ตั้งแห่งความไม่ประมาท ด้วยไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่า จะอยู่ไปบรรจบรอบปีเช่นนี้อีกหรือไม่ ควรที่จะบำเพ็ญการกุศลและประพฤติหันหาสุจริตธรรม วันเกิดปีหนึ่งเป็นเครื่องเตือนใจครั้งหนึ่ง ให้รู้สึกว่าอายุล่วงไปใกล้ต่อมรณะอีกก้าวอีกขั้นหนึ่ง เมื่อรู้สึกมีเครื่องเตือนเช่นนี้ ก็จะได้บรรเทาความเมาในชีวิต ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นตัวอกุศลธรรมนั้นเสีย...”
ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันเฉลิมพระชนมพรรษาตั้งแต่ยังทรงผนวชอยู่นั้น มีแต่สวดมนต์เลี้ยงพระ ๑๐ รูป เมื่อเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้วก็ยังทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเพียงเจริญพระพุทธมนต์และเลี้ยงพระเหมือนครั้งทรงผนวช เพิ่งจะทรงทำเป็นพิธีใหญ่เมื่อเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา เป็นงาน ๓ วัน มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ที่ท้องพระโรง ๖๐ รูปเท่าพระชนมายุ ให้เจ้านายและข้าราชการทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระทุกวังทุกบ้าน เสด็จออกพระที่นั่งอนันตสมาคมคล้ายออกแขกเมือง เจ้านายและขุนนางอ่านคำถวายพระพรชัยมงคล แล้วพระราชทานเหรียญทองคำตรามงกุฎแก่ข้าราชการ มีเทศนา ๕ กัณฑ์ และสรงมุรธาภิเษก
รัชกาลต่อ ๆ มาได้ถือเป็นราชประเพณีแต่ได้เปลี่ยนแปลงตามกาลสมัยของแต่ละรัชกาล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาได้กำหนดดังนี้


เสด็จออกมหาสมาคม
วันที่ ๕ ธันวาคม เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตไปยังพระบรมมหาราชวัง เสด็จฯเข้าสู่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนถวยสักการะพระสยามเทวาธิราช แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยทางพระทวารเทวราชมเหศวร์(ในรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน เจ้าจอม หม่อมห้าม ข้าราชการท้าวนางและสตรีผู้มีบรรดาศักดิ์เฝ้าฯ ถวายพระพรในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ เมื่อเสด็จออกรับคำถวายพระพรของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าและข้าราชการในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยแล้วจึงเสด็จเจ้ารับคำถวายพระพรของฝ่ายใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนราชประเพณีให้ฝ่ายในทั้งหมดมีตำแหน่งเฝ้าฯ ร่วมกับฝ่ายหน้า) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์บนพระราชบัลลังก์ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ที่โต๊ะเคียงด้านขวาทอดพระมหาพิชัยมงกุฎและพานทองคำลงยาวางแผ่นกระดาษพระราชดำรัส ที่ด้านซ้ายทอดพานพระขันหมากและพระสุพรรณศรีทอดพระสุพรรณราชที่ฐานเขียงพระแท่นราชบัลลังก์ ตั้งต้นไม้ทอง - เงิน สี่มุมพระราชบัลลังก์หลังพระราชบัลลังก์พนักงานเครื่องสูงถวายอยู่งานพัดโบกคู่หนึ่ง มีมหาดเล็กเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์คือ พระมาลาและพระคทาจอมทัพ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร พระแส้หางช้างเผือก พัดวาลวิชนีเข้าริ้วยืนเฝ้าฯ ตามตำแหน่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์เฝ้าฯ ณ เบื้องซ้ายพระราชบัลลังก์นายทหารรักษาพระองค์ทุกเหล่าและราชองครักษ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ในราชสำนักเฝ้าฯ เบื้องขวาพระราชบัลลังก์ เมื่อพร้อมแล้วเลขาธิการพระราชวังถวายความเคารพขอพระบรมราชานุญาตให้มหาดเล็กรัวกรับให้สัญญาณชาวม่านไขเปิดพระวิสูตร ตำรวจหลวงชูพุ่มให้สัญญาณถวายความเคารพ พนักงานกระทั่งแตรมโหระทึกทหารกองเกียรติยศที่ตั้งอยู่หน้าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทหารบก (ยิงที่ท้องสนามหลวง) ทหารเรือ (เรือรบหลวงยิงที่หน้าท่าราชวรดิษฐ์) ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติฝ่ายละ ๒๑ นัด พระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ข้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายความเคารพ ครั้นสุดเสียงประโคมแล้วพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์สยามมกุฎราชกุมารบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลแทนพระบรมวงศานุวงศ์ นายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลแทนคณะรัฐมนตรี ประธานรัฐสภากราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบ จบแล้ว มหาดเล็กรัวกรับ ตำรวจหลวงชูพุ่มดอกไม้ทอง ชาวม่านไขปิดพระวิสูตร ทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ชาวพนักงานประโคมเช่นเวลาเสด็จออก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงจากพระแท่นราชบัลลังก์นพปฎลมหาเศวตฉัตร แล้วเสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาลทักษิณทางพระทวารเทวราชมเหศวร์พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินนี


งานพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคม แต่งกายเครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายมหาจักรี สายสร้อยจุลจอมเกล้า



พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเฉลิมพระชนมพรรษา
บ่ายวันที่ ๕ ธันวาคม เจ้าพนักงานตกแต่งพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยเป็นที่ประกอบพิธีสงฆ์ที่พระแท่นราชบัลลังก์นพปฏลมหาเศวตฉัตรเชิญ พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์รัชกาลปัจจุบันขึ้นประดิษฐานบนโต๊ะหมู่ ตั้งพระกรัณฑ์ทองคำลงยาบรรจุพระสุพรรณบัฏพระดวงพระบรมราชสมภพมีพานทองคำลงยารองรับคลุมด้วยปักดิ้นทอง ทอดพระมหาสังข์ทักษิณาวัฎ และครอบพระกริ่งสำหรับทำน้ำพระพุทธมนต์ถวายสรง บนฐานเขียงพระแท่นราชบัลลังก์ด้านหน้าตั้งเชิงเทียนปักเทียนพระมหามงคลคู่ ๑ (เทียนพระมหามงคล ขี้ผึ้งหนัก ๘ บาท หมายถึงมงคล ๘ ประการ ไส้ ๓๒ เส้น สูงเท่ากับความยาวของรอบพระเศียร) ข้างซ้ายตั้งเทวรูปชื่อพระราชมุทธาธรเชิญหีบพระราชลัญจกร ข้างขวาตั้งเทวรูปชื่อพระราชบันฦาธารเชิญพระแสงพระราชพิธี สี่มุมพระแท่นราชบัลลังก์ตั้งต้นไม้ทอง - เงิน และตั้งพานพุ่มดอกไม้แจกัน ดอกไม้รอบฐานพระแท่น
ด้านข้างขวาพระแท่นราชบัลลังก์นพปฎลมหาเศวตฉัตร ตั้งตู้เทียนเท่าพระองค์ (เทียนเท่าพระองค์ ขี้ผึ้งหนักเท่าพระชนมายุ ไส้ ๓๒ เส้น สูงเท่าพระองค์) ยอดตู้ทรงมงกุฎและตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระพุทธรูปเทวรูปนพเคราะห์องค์เสวยพร้อมด้วยดอกไม้สี ธูปเทียนตามกำลังของเทวรูปนพเคราะห์องค์แทรก พร้อมด้วยดอกไม้สี ธูปเทียนตามกำลังของเทวรูป
หน้าพระแท่นราชบัลลังก์นพปฏลมหาเศวตฉัตรทอดเครื่องนมัสการพานทองสองชั้นและเครื่องนมัสการลงยารองพร้อมที่ทรงกราบ ทอดพระราชอาสน์และเครื่องราชูปโภคตั้งอาสนสงฆ์สำหรับพระสงฆ์ที่จะรับพระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์ และที่จะเจริญพระพุทธมนต์ ตั้งโต๊ะปูผ้าขาววางผ้าไตร พัดยศ และเครื่อง
ยศสมณศักดิ์ พร้อมทั้งตั้งเก้าอี้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทุกฝ่ายเฝ้าฯ
ส่วนที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่ชานหน้าพระอุโบสถตั้งโต๊ะปูผ้าขาวสำหรับบรรพชิตญวนและจีนวางเครื่องดอกไม้เงิน – ทองในการถวายพระพร
ภายในพระอุโบสถที่ข้างธรรมาสน์ศิลาตั้งตู้เทียนเท่าพระองค์คู่ ๑ บนธรรมาสน์ศิลาตั้งเทียนพระมหามงคลคู่ ๑ หน้าธรรมาสน์ศิลาทอดเครื่องนมัสการทองใหญ่และเครื่องนมัสการทองทิศพร้อมที่ทรงกราบแนวผนังด้านเหนือตั้งอาสนสงฆ์สำหรับพระสงฆ์ ๕ รูป สวดนวัคคหายุสมธัมม์(เป็นประเพณีมาแต่รัชกาลที่ ๔ กำหนดให้เป็นหน้าที่พระสงฆ์วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม สวดนวัคคหายุสมธัมม์) หน้าพระทวารกลางตั้งแท่นปูผ้าขาวตั้งบัตรนพเคราะห์ยอดวางบุษบกประดิษฐานเทวรูปนพเคราะห์มีธงเครื่องกระยาบวช ดอกไม้สี ธูปเทียนตามกำลังเทวดา
แนวผนังด้านใต้ทอดพระราชอาสน์และตั้งเก้าอี้สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์องคมนตรีและข้าราชการเฝ้าฯ
เวลา ๑๖ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐานพระราชวังดุสิตไปยัง พระบรมมหาราชวังรถยนต์พระที่นั่งเทียบที่ประตูเกยหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เสด็จพระราชดำเนินไปยังชานหน้าพระอุโบสถบรรพชิตญวนและจีนถวายพระพรชัยมงคลและถวายดอกไม้เงิน - ทองแล้วเสด็จเข้าสู่พระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงจุดเทียนพระมหามงคลเทียนเท่าพระองค์ แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดเทียนที่พระสงฆ์สวดนวัคคหายุสมธัมม์แล้วจึงทรงจุดธูปเทียนบูชาเทพยดานพเคราะห์ โหรลั่นฆ้องชัย พนักงานประโคมสังข์ แตร ดุริยางค์ พระสงฆ์ ๕ รูปเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ โหรบูชาเทพยดานพเคราะห์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จลงสู่ชานหน้าพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานราชสังคหวัตถุ(๑) แก่ข้าทูลละอองพระบาทผู้สูงอายุแล้วเสด็จพระราชดำเนินออกจากพระอุโบสถไปประทับรถยนต์พระที่นั่งประตูหลังวัดพระศรีรัตนศาสดารามไปเทียบหน้าพระทวาร เทเวศร์รักษา เสด็จเข้าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์ กองประกาศิต สำนักนายกรัฐมนตรี อ่านประกาศกระแสพระบรมราชโองการสถาปนาสมณศักดิ์ สมเด็จพระราชาคณะและรองสมเด็จพระราชาคณะ จบแล้ว พระสงฆ์ ๑๐ รูปเจริญชัยมงคลคาถาชาวพนักงานประโคมฆ้องชัย สังข์ แตร ดุริยางค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนสุพรรณบัฏหิรัญบัฎ พัดยศ ผ้าไตร แด่พระสงฆ์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ แต่ถ้าปีใดไม่สถาปนาสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จพระราชาคณะและรอง สมเด็จพระราชาคณะ ไม่มีการอ่านประกาศพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานสัญญาบัตร พัดยศ และผ้าไตร พระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ออกไปครองผ้าเรียบร้อยแล้วกลับมานั่งยังอาสนะถวายอนุโมทนา สมเด็จพระราชคณะถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา นิมนต์พระสงฆ์ ๖๐ รูป(๒) ซึ่งจะเจริญพระพุทธมนต์การพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาขึ้นนั่งยังอาสนะในพระที่นั่งตามลำดับ พระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดเทียนพระมหามงคลเทียนเท่าพระองค์ และทรงจุด ธูปเทียนบูชาพระพุทธรูปเทวรูปองค์เสวย พระพุทธรูปองค์แรก แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการที่หน้าแท่นราชบัลลังก์เจ้าหน้าที่กอง ศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา อาราธนาศีล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงศีลแล้ว พระสงฆ์เจริญพระพุททมนต์และเมื่อถึงบทเสกทำน้ำพระพุทธมนต์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดเทียนที่ครอบพระกริ่งถวายสมเด็จพระสังฆราช ทรงเสกน้ำ พระพุทธมนต์เสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาลทักษิณทางพระทวารเทวราชมเหศวร์ ทรงจุดเทียนพระมหามงคลบูชาพระสยามเทวาธิราช ๑(๓) แล้วเสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ขณะพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์การพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ เมื่อถวายพระพรลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินกลับ
การแต่งกาย แต่เครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายจุลจอมเกล้า
อนึ่ง ในวันนี้ตั้งแต่ ๙ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา สำนักพระราชวังได้จัดที่สำหรับลงพระนามและลงนามถวายพระพรไว้ที่ในพระบรมมหาราชวัง


เลี้ยงพระ
วันที่ ๖ ธันวาคม เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐานพระราชวังดุสิต ไปยังพระบรมมหาราชวัง เสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทรงจุดเทียนบูชาพระสยามเทวาธิราช ๑ คู่ แล้วเสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยทางพระทวารราชมเหศวร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาลปัจจุบัน ทรงจุดเทียนบูชาพระพุทธรูปเทวรูปองค์เสวย พระพุทธรูปเทวรูปองค์แทรกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการพระสงฆ์ ๖๐ รูป ที่เจริญพระพุทธมนต์แต่วันก่อนและพระสงฆ์ที่สวดนวัคหายุสมธัมม์ ๕ รูป ถวายพรพระจบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนภัตตาหารแต่สมเด็จพระสังฆราชและประทับทรงปฏิบัติสมเด็จพระสังฆราช พระสงฆ์นอกนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ทรงประเคนตามลำดับพระสงฆ์รับพระราชทานฉันแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดเทียนดูหนังสือเทศน์พระราชทานเจ้าหน้าที่นำไปตั้งที่จงกลธรรมาสน์เทศน์ เจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา อาราธนาธรรม สมเด็จพระสังฆราช ถวายศีลและถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเศษ(พระธรรมเทศนามงคลวิเศษ เริ่มถวายเมื่อวันบรมราชาภิเษกเป็นราชธรรมจริยานุวัตรที่พระมหากษัตริย์พึงปฏิบัติยึดถือ การถวายพระธรรมเทศนานี้เป็นกิจของสมเด็จพระสังฆราช นำมาใช้ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา แต่ถ้าสมเด็จพระสังฆราชประชวรหรือไม่สามารถที่จะถวายพระธรรมเทศนาได้จะมอบหมายให้สมเด็จพระราขาคณะ รูปอื่นถวายแทนต้องการบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตก่อน) ซึ่งพรรณนาถึงพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงปฏิบัติในรอบปีที่ผ่านมาโดยหลักที่ทรงปฏิบัติตามทศพิธราชธรรมจักรวรรดิวัต จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมแด่สมเด็จพระสังฆราชและพระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เจ้าหน้าที่ศุภรัต กองพระราชพิธี จะได้กราบบังคมทูลรายงานทรงพระราชอุทิศนำสัตว์ซึ่งในรัชกาลก่อน ๆ มี หมู วัว ไก่ เป็ด ปลา ไปปล่อย ในรัชกาลปัจจุบันมีเฉพาะแต่ปลานำไปปล่อยที่ท่าราชวรดิษฐ์โดยเจ้าพนักงานทูลเชิญพระราชวงศ์องค์ใดองค์หนึ่งไปทรงปล่อยที่แม่น้ำเจ้าพระยา ใช้น้ำจากพระเต้าที่ทรงหลั่งทักษิโณทกเทตามไปกับปลาที่ปล่อย


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปประทับรถยนต์พระที่นั่งที่พระทวารเทเวศร์รักษา เสด็จพระราชดำเนินกลับ
เจ้าพนักงานตั้งบายศรีแก้ว ทอง เงิน เวียนเทียนสมโภชดวงพระบรมราชสมภพ มีประโคม สังข์ แตรดุริยางค์ เมื่อเวียนเทียนครบ ๓ รอบแล้ว หัวหน้าพราหมณ์เจิมดวงพระบรมราชสมภพ
การแต่งกาย เครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายช้างเผือก
คณะทูตเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล
การถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของคณะทูตานุทูตในรัชกาลปัจจุบันแต่เดิมมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดเฝ้าฯ ถวายพระพร ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นงานเต็มยศในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุบรรจบครบ ๕๐ พรรษา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเป็นถวายพระพรชัยมงคล ณ ศาลาดุสิตาลัย สวนจิตรลดา พระราชทานเลี้ยงน้ำชาเป็นเกียรติแก่คณะทูตานุทูตเป็นพิเศษจากที่เคยมา และโปรดเกล้าฯให้เป็นงานแต่งกายแบบสากล และโปรดเกล้าฯให้ถือปฏิบัติในปีต่อมา มีรายละเอียดดังนี้
วันที่ ๗ ธันวาคม เวลา ๑๗ นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐานไปยังศาลาดุสิดาลัย เสด็จฯ ผ่านพระราชอาสน์ไปทรงยืนที่พระสุจหนี่ที่ทอดถวายไว้ สมุหพระราชมณเทียร กราบบังคมทูลเบิกคณบดีคณะทูตเฝ้าฯถวายพระพรชัยมงคล จบคำถวายพระพรของคณบดี คณะทูตแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอบ จบ วงดุริยางค์ซึ่งอยู่ที่สนามข้างศาลาดุสิดาลัย บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินนำคณะทูตานุทูตไปยังสนามด้านตะวันตกของศาลาดุสิดาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมุหพระราชมณเฑียรนำคณะทูตานุทูตตามเสด็จฯ เพื่อรับพระราชทานเลี้ยงน้ำชาและเครื่องว่างและโปรดเกล้าฯ ให้เชิญองคมนตรี คณะรัฐมนตรี และข้าราชการผู้ใหญ่บางท่านไปเฝ้าฯรับพระราชทานเลี้ยงน้ำชาด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปฏิสันถารกับคณะทูตานุทูตตามพระราชอัธยาศัย สมควรแก่เวลา เสด็จขึ้นดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเสร็จสิ้น งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
เนื่องในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลขาธิการพระราชวังออกบัตรกราบทูลและเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี รัฐมนตรี คณะทูตานุทูต ข้าราชการฝ่ายทหาร ตั้งแต่ยศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ขึ้นไป ข้าราชการฝ่ายพลเรือนตั้งแต่ชั้นเอกขึ้นไป ตลอดจนพ่อค้าคหบดีและผู้มีเกียรติอื่น ๆ ที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ มารับพระราชทานเลี้ยงงานนี้เรียกว่า ราชอุทยานสโมสร ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ ๘ ธันวาคม เวลา ๑๗ นาฬิกา ณ บริเวณสวนศิวาลัย ในพระบรมมหาราชวัง แต่งกายเครื่องแบบครึ่งยศ แต่งานนี้เมื่อบ้านเมืองอยู่ในภาวะไม่ปรกติก็โปรดเกล้าฯ ให้งด
อนึ่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ รัฐบาลสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศให้วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นวันสำคัญของชาติ มีการเฉลิมฉลองดังข้อความในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อไปนี้
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย
ด้วยคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นว่า ตามที่ได้กำหนดให้มีการเฉลิมฉลองชาติไทยในวันที่ ๒๔ มิถุนายน นั้น ได้ปรากฏในภายหลังว่า มีข้อที่ไม่เหมาะสมหลายประการ ในด้านประชาชนและหนังสือพิมพ์ได้เสนอแนะให้พิจารณาในเรื่องนี้หลายครั้งหลายคราว คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาโดยมี พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
คณะกรรมการนี้ได้พิจารณาแล้ว เสนอความเห็นว่า ประเทศต่าง ๆ ที่เลือกถือวันใดวันหนึ่งที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องในชาติต่าง ๆ กัน โดยถือเอาวันประกาศเอกราช วันอิสรภาพ วันตั้งถิ่นฐานวันสาธารณรัฐ วันสถาปนาพระราชวงศ์บ้าง ซึ่งไม่เหมือนกัน แต่ละประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติโดยทั่วไปนั้นได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติเช่น ประเทศอังกฤษ เนเธอแลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน ญี่ปุ่น ฯลฯ เป็นต้น แม้ประเทศไทยเราเองก็ได้ถือเอาวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยมานานแล้ว เพิ่มจะมากำหนดเอาวันที่ ๒๔ มิถุนายน เป็นวันชาติเพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่งในระยะหลังนี้เอง
คณะกรรมการฯ จึงมาความเห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามขนบประเพณีของประเทศที่พระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นการสมัครสมานสามัคคีรวมจิตใจของบุคคลในชาติโดยทั่วกัน จึงสมควรจะถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยต่อไป โดยยกเลิกวันชาติในวันที่ ๒๔ มิถุนายน เสีย
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบด้วยจึงได้ลงมติยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๘๑ เรื่องวันชาติ นั้นเสีย และให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยด้วย ต่อไปตั้งแต่บัดนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๓
เนื่องด้วยประกาศให้ถือวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติ รัฐบาลจึงได้กำหนดมีงานสโมสรสันติบาตรที่ทำเนียบรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีได้ออกบัตรกราบทูลเชิญและเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี คณะทูตานุทูต ผู้มีเกียรติทั้งไทยและต่างประเทศ ข้าราชการผู้ใหญ่ทุกกระทรวง ทบวง กรม ไปในงานนี้เพื่อถวายพระพรชัยมงคล การแต่งกายเครื่องแบบเต็มยศ
อนึ่ง ก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษากองทัพไทยได้จัดให้กรม กองทหารรักษาพระองค์ทุกเหล่าทำพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ลานพระราชวังดุสิตบริเวณพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง (เปิดประทุน) มีนายทหารราชองครักษ์เชิญธงชัยราชกระบี่ยุทธ ครุฑพ่าห์ขึ้นรถนำเสด็จฯ และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ตามเสด็จ เมื่อทรงตรวจพลเสร็จแล้วเสด็จฯ ประทับพลับพลา กองทหารถวายคำสัตย์ปฏิญาณ ถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบ แล้วทอดพระเนตรทหารเดินสวนสนามตามลำดับ แล้วเสด็จฯกลับ
การแต่งกาย เครื่องแบบเต็มยศ
(คัดลอกจากหนังสือ ศิลปวัฒนธรรมไทย เล่ม ๓ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม กรุงรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๒๕)

วันพ่อแห่งชาติ

วันพ่อแห่งชาติ
ความหมาย
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๕๘๗) พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายคำว่า “พ่อ” ไว้ดังนี้
พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตน
พุทธศาสนา (สำนักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ทรรศนะเกี่ยวกับสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์โดยสังเขป หน้า ๑๐๐) ได้ให้ความหมายของคำว่า “พ่อ” หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น
- บิดา (พ่อ)
- ชนก (ผู้ให้กำเนิด)
- สามี (ผัวของแม่) เป็นต้น
ความเป็นมาของวันพ่อ (สุภักดิ์ อนุกูล วันสำคัญของไทย, หน้า ๑๑๕ - ๑๑๗)

วันพ่อแห่งชาติในประเทศไทย
วันพ่อแห่งชาติในประเทศไทยตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชโดยจัดติดต่อกันทุกปีตั้งแต่ พ.ศ. 2523 โดยการริเริ่มของ นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา คุณหญิงเนื้อพิทย์ เสมรสุต สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันพ่อได้แก่ ดอกพุทธรักษาซึ่งมีชื่ออันเป็นมงคล
วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ในประเทศไทย นอกจากจะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และเป็นวันพ่อแห่งชาติแล้ว ยังถือว่าวันนี้ เป็น “วันชาติของไทย” อีกด้วย
ประวัติ
วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา หลักการและเหตุผลที่มีการจัดตั้งวันพ่อขึ้นแห่งชาติ เนื่องจากพ่อ เป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนและตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะ “พ่อแห่งชาติ” ซึ่งนอกจากพระองค์จะเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงทะนุบำรุงพระราชโอรสธิดาด้วยความรัก และทรงอบรมอนุศาสน์ให้ทรงเจริญวัยสมบูรณ์ ทรงเป็น "พ่อ" ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา อีกทั้งยังทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน ทรงพระมหากรุณาทะนุบำรุงขจัดทุกข์ผดุงสุขพสกนิกรถ้วนหน้า พระองค์ทรงเป็น “พ่อแห่งชาติ” ที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการทะนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้วัฒนาถาวรสืบไป
ดังบทร้อยกรองเทิดพระเกียรติว่า
“อันราชาเลี้ยงรักษาซึ่งทวยราษฎร์ ประดุจเป็นปิตุราชอยู่ทุกเมื่อควรที่บุตรสุดรักจักจุนเจือ
พระคุณนั้นให้อะเคื้อด้วยภักดี
และอีกบทหนึ่งเทิดพระเกียรติว่า
“ทุกบุปผามาลัยคือใจราษฎร์ ภักดีบาทองค์บพิตรเป็นนิจสินพระคือบิดาข้าแผ่นดิน
ร่วมร้อยรินมาลัยถวายพระพร ลุ ๕ ธันวามหาราช
“วันพ่อแห่งชาติ” คือองค์อดิเรก พระเปี่ยมล้นด้วยเมตตาเอื้ออาทร พสกนิกรเป็นสุขทุกคืนวัน”
คณะกรรมการจัดงานวันพ่อแห่งชาติได้กำหนดให้ ดอกพุทธรักษา ดอกไม้ที่มีนามเป็นมงคลนี้เป็นสัญลักษณ์

วัตถุประสงค์ของการจัดวันพ่อแห่งชาติ
เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ
เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน
กิจกรรม
กิจกรรมในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในทุกๆ ปี จะมีการประดับธงชาติในทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ราชการ โรงเรียน บริษัท และบ้านเรือน เพื่อถวายพระพรให้พระองค์ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน และยังมีการทำความสะอาดแม่น้ำลำคลอง ถนน โรงพยาบาล และประดับรูปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไว้ที่หน้าบริษัทหรือหน่วยงานต่างๆ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย
กิจกรรมสำหรับลูกในวันพ่อแห่งชาติ คือ ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน จัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ หรือบำเพ็ญกุศล ทำบุญใส่บาตร เพื่ออุทิศส่วนกุศล และระลึกถึงพระคุณของพ่อ
นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมประกาศเกียรติคุณ พ่อตัวอย่าง หรือพ่อดีเด่น โดยกำหนดคุณสมบัติ คือ มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ส่งเสริมการศึกษาของบุตร ธิดา นับถือศาสนาโดยเคร่งครัด งดเว้นอบายมุขทุกชนิด อุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชน และมีภรรยาเพียงคนเดียว
อ้างอิง
http://th.wikipedia.org
คัดลอกมาจากเวบของสถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก http://www.childthai.org/






วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ประเพณีวันฮาโลวีน

ในคริสต์ศาสนา นิกายคาทอลิก Halloween เป็นคำภาษาอังกฤษ เพี้ยนมาจากคำ All Hallows Evs ซึ่งแปลว่า วันก่อนวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย โดยวิธีตัดต่อ Hallow + Eve = Halloween คำ Hallow เป็นคำแองโกลแซกซัน แปลว่า ทำให้ศักดิ์สิทธิ์ ตรงกับภาษาเยอรมันว่า heiligen ในปัจจุบันนิยมใช้คำมาจากภาษาละตินว่า sanctify คำ Hallow ยังมีใช้ในบทสวดอธิษฐานเก่า ๆ เช่น Hallowed be thy Name (ขอพระนามจงเป็นที่สักการะ)

คำ Hallow ยังแปลว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ศักดิ์สิทธิ์ นักบุญ คำ All Hallowmas จึงแปลว่า วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย ในปัจจุบันใช้คำว่า All Saints Day คู่กับ Christmas ซึ่งแปลว่า วันสมโภชพระคริสต์หรือ คริสต์มาสนั่นเอง วันก่อนวันสมโภชคริสต์มาสมี Chrismas Eve ที่นิยมเรียกว่า คืน (ก่อน) คริสต์มาส วันก่อนวันสมโภชนักบุญทั้งหลายก็มี All Hallowmas Eve ซึ่งต่อมาย่อเป็น Halloween โดยมีงานรื่นเริงและพิธีกรรมทางศาสนาเช่นเดียวกับคืนคริสต์มาส ชาวคาทอลิกพร้อมใจกันเลื่อนพิธีกรรมทาง ศาสนา ไปหลังวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย และเรียกว่า วันวิญญาณในแดนชำระ (All Souls Day) เพื่อให้คู่กับวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย (All Saints Day)


ตำนานวันฮาโลวีน


วันที่ 31 ต.ค. เป็นวันที่ชาวเคลต์ (Celt) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในไอร์แลนด์ ถือกันว่า เป็นวันสิ้นสุดของฤดูร้อน และวันต่อมา คือ วันที่ 1 พ.ย. เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งในวันที่ 31 ต.ค. นี่เองที่ชาวเคลต์เชื่อว่า เป็นวันที่มิติคนตาย และคนเป็นจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตในปีที่ผ่านมาจะเที่ยวหาร่างของคนเป็นเพื่อสิงสู่ เพื่อที่จะได้มีชีวิตขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทีนี้ก็เดือดร้อนถึงคนเป็นละซิ ต้องหาทุกวิถีทางที่จะไม่ให้ วิญญาณ มาสิงสู่ร่างตน ชาวเคลต์จึงปิดไฟทุกดวงในบ้าน ให้อากาศหนาวเย็น และไม่เป็นที่พึงปรารถนาของบรรดาผีร้าย นอกจากนี้ยังพยายามแต่งกายให้แปลกประหลาด ประมาณว่า ปลอมตัวเป็นผีร้ายไปเลย ไม่ใช่มนุษย์นะ และส่งเสียงดังอึกทึก เพื่อให้ผีตัวจริงตกใจหนีหายสาบสูญไปเลย

ตำนานยังเล่าถึงขนาดว่า มีการเผา "คนที่คิดว่าถูก ผี ร้ายสิง" เป็นการเชือดไก่ให้ผีกลัวอีกต่างหาก แต่นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนคริสต์กาล ที่ความคิดเรื่องผีสางยังฝังรากลึกในจิตใจมนุษย์ ต่อมาในศตวรรษแรกแห่งคริสต์กาล ชาวโรมันรับประเพณีฮาโลวีนมาจากชาวเคลต์แต่ได้ตัดการเผาร่างคนที่ถูกผีสิงออก เปลี่ยนเป็นการเผาหุ่นแทน กาลเวลาผ่านไป ความเชื่อเรื่องผีจะสิงสูร่างมนุษย์เสื่อมถอยลงตามลำดับ ฮาโลวีนกลายเป็นเพียงพิธีการ การแต่งตัวเป็นผี แม่มด สัตว์ประหลาดตามแต่จะสร้างสรรค์กันไป ประเพณีฮาโลวีนเดินทางมาถึงอเมริกาในทศวรรษที่ 1840 โดยชาวไอริชที่อพยพมายังอเมริกา สำหรับประเพณี ทริกออร์ทรีต (Trick or Treat) นั้น เริ่มขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยชาวยุโรป ซึ่งถือว่า วันที่ 2 พ.ย. เป็นวัน "All Souls" พวกเขาจะเดินร้องขอ "ขนมสำหรับวิญญาณ" (soul cake) จากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง โดยเชื่อว่า ยิ่งให้ขนมเค้กมากเท่าไร วิญญาณของญาติผู้บริจาคก็ได้รับผลบุญ ทำให้มีโอกาสขึ้นสวรรค์ได้มากเท่านั้น

ส่วนตำนานที่เกี่ยวกับฟักทองนั้น เป็นตำนานพื้นบ้านของชาวไอริช ที่กล่าวถึง Jack-o-lantern ซึ่งเป็นนักเล่นกลจอมขี้เมา วันหนึ่งเขาหลอกล่อปีศาจขึ้นไปบนต้นไม้ และเขียนกากบาทไว้ที่โคนต้นไม้ ทำให้ปีศาจลงมาไม่ได้ จากนั้นเขาได้ทำข้อตกลงกับปีศาจ 'ห้ามนำสิ่งไม่ดีมาหลอกล่อเขาอีก' แล้วเขาจะปล่อยปีศาจลงจากต้นไม้ เมื่อแจ็คตายลง เขาปฏิเสธที่จะขึ้นสวรรค์ ขณะเดียวกันปฏิเสธที่จะลงนรก ปีศาจจึงให้ถ่านที่กำลังคุแก่เขา เพื่อเอาไว้ปัดเป่าความหนาวเย็นท่ามกลางความมืดมิด และแจ็คได้นำถ่านนี้ใส่ไว้ในหัวผักกาดเทอนิพที่ถูกเจาะให้กลวง เพื่อให้ไฟลุกโชติช่วงได้นานขึ้น ชาวไอริชจึงแกะสลักหัวผักกาดเทอนิพ และใส่ไฟในด้านใน อันเป็นอีกสัญลักษณ์ของวันฮาโลวีน เพื่อระลึกถึง "การหยุดยั้งความชั่ว" Trick or Treat เพื่อส่งผลบุญให้กับญาติผู้ล่วงลับ และพิธีทางศาสนาเพื่อทำบุญวันปีใหม่ แต่เมื่อมีการฉลองฮาโลวีนในสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกาพบว่า ฟักทองหาง่ายกว่าหัวผักกาดมาก จึงเปลี่ยนมาใช้ฟักทองแทน หัวผักกาดจึงกลายเป็นฟักทองด้วยเหตุผลฉะนี้


ประเพณีวันฮาโลวีนอังกฤษ

ที่ประเทศนี้ถือว่าวันฮาโลวีนนี้เป็นวันดี เหมาะสำหรับจัดงานแต่งงาน การทำนายโชคชะตา หรือแม้แต่เรื่องความตายยังถือว่า วันนี้เป็นเพียงวันเดียวที่ภูติผีวิญญาณจะช่วยดลบันดาลให้สิ่งที่คนเป็นต้องการสามารถเป็นไปตามใจปรารถนา ประมาณเที่ยงคืนของวันฮาโลวีนสาวอังกฤษจะออกมาหว่าน และไถกลบเมล็ดป่าน พร้อมตั้งจิตอธิษฐาน และท่องคาถาร้องขอให้มองเห็นภาพของว่าที่คู่ชีวิตของตนในอนาคต เมื่อสาวเจ้าเหลียวมองผ่านบ่าด้านซ้ายก้จะได้เห็นภาพนิมิตของผู้ที่จะมาเป็นสามีของตนในอนาคต


อีกประเพณีหนึ่งของชาวอังกฤษ คือ การหย่อนเหรียญ 6 เพนนีลงในอ่างน้ำ พร้อมแอปเปิ้ล ผู้ใดสามารถแยกแยะของสองสิ่งนี้ออกจากกันได้โดย ใช้ปากคาบเหรียญ และใช้ส้อมจิ้มแอปเปิ้ลให้ติดได้ในครั้งเดียว ผู้นั้นจะมีโชคดีตลอดปีใหม่ที่กำลังจะมาเยือน




ประเพณีวันฮาโลวีนสหรัฐอเมริกา



ประเพณีของประเทศมหาอำนาจนี้ดูจะเป็นที่รู้จักแพร่หลายกว่าประเพณีของชาวอังกฤษ นั่นก็คือ ประเพณี Trick or Treat ที่จะให้เด็กๆ แต่งหน้า แต่งตัวเป็นผีเดินไปเคาะประตูตามบ้านต่างๆ เพื่อร้องขอขนมเค้กสำหรับวิญญาณ (Soul cake) พร้อมกับส่งเสียงทักทายว่า "Trick or Treat" หากเจ้าของบ้านตอบว่า Trick จะถูกเด็กๆ แกล้ง แต่ถ้าตอบว่า Treat เจ้าของบ้านหลังนั้นก็ต้องนำขนมเค้กมาให้พวกเด็กจนกว่าเขาจะพอใจ


เด็กที่แต่งตัวเป็นภูติผีวิญญาณเปรียบเหมือนสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างคนเป็นและคนตาย โดยเจ้าของบ้านที่ให้ขนมแก่เด็กๆ สามารถฝากคำอธิษฐานไปถึงคนตายได้ด้วย ดังนั้น ยิ่งเด็กๆ ขอขนมได้มากเท่าใด วิญญาณที่ยังเวียนวนอยู่ในรกก็จะยิ่งได้รับส่วนบุญ และมีโอกาสขึ้นสวรรค์มากยิ่งขึ้นด้วย


ปัจจุบัน ประเพณีของทั้งสองประเทศคงเหลือแต่เพียง การแต่งกายปลอมตัวเป็นผี เพื่อการพบปะ สังสรรค์ เฮฮากันมากกว่าจะเป็นการระลึกถึงผู้ตายดั่งเช่นแต่เก่าก่อน



เครื่องดื่มวันฮาโลวีน


โดยธรรมเนียมแล้ว วันฮาโลวีน เป็นวันถือศีล และไม่ดื่มสุราหรืออาหารฟุ่มเฟือย อาจมีโซลเค้ก (Soul Cake) ซึ่งเป็น ขนม ตามธรรมเนียมดั้งเดิมของงาน วันฮาโลวีน หรือ อาหาร ที่ไม่ใช่เนื้อ และเมื่อได้รับโซลเค้กให้สวดภาวนาแด่ผู้ล่วงลับเป็นการตอบแทน (อย่างไรก็ดี นี่เป็นละครในงานวัน "ฮาโลวีน" ไม่ใช่พิธีกรรม ดังนั้นการจัดงานเลี้ยงในบ้านเราคงจะต้องมีขนม, น้ำ และอาหารเป็นธรรมดา) ลูกฟักทองแกะสลักหน้าผี, แม่มด, แมว, ผีดิบ, ก่อกองไฟ เหล่านี้ไม่มีรากฐานความเชื่อคาทอลิกในงานวันฮาโลวีน คงเป็นสิ่งที่รับมาจากพิธีกรรมของพวกเซลติกเกี่ยวกับเทพแห่ง ความตาย มารวบรวมวิญญาณคนชั่วช่วงฤดูใบไม้ร่วงหรือฤดูเก็บเกี่ยว (31 ตุลาคม) หรือไม่ก็นำมาใส่ไว้ในช่วงปีหลังๆ ยุคสมัยของเรา
++

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Citizenship Day พลเมืองอเมริกัน

คำว่าวันพลเมือง(CITIZENSHIP DAY)
เมื่อเป็นพลเมืองอเมริกันแล้ว เราจะต้องทราบความหมายของวันพลเมืองหรือ Citizenship Day และสัปดาห์แห่งรัฐธรรมนูญ( Constitution Week) ห้วงเวลาดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนของเรื่องสิทธิและความรับผิดชอบที่บัญญัติโดยกฎหมายสูงสุดของแผ่นดิน


ถึงที่เป็นวันเปิด


นั่นคือรัฐธรรมนูญ แต่ละปีจะจะใช้วันที่ 17 กันยายนเป็นวันแห่งความรำลึกถึง เหตุที่ใช้วันนี้เพราะเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1787 ผู้แทนของ 12 รัฐได้มาลงนามประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย เรียกการประชุมครั้งนั้นว่า the Constitutional Convention














วันพลเมือง(Citizenship Day)เกิดขึ้นเมื่อปี 1915 ในสมัยประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน ท่านเป็นผู้เรียกเองว่า National Americanization Day เป็นวันที่บุคคลสำคัญต่างๆได้กล่าวสุนทรพจน์ไปทั่วประเทศให้ความสำคัญของวันนี้



ต่อมาในปี 1952 ประธานาธิบดีแฮร์รี่ ทรูแมน ได้ลงนามให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายเรียกวันพลเมือง( Citizenship Day) ตรงกับวันที่ 17 กันยายน







รัฐบาลต้องการส่งเสริมสัปดาห์รัฐธรรมนุญตั้งแต่วันที่17-23 กันยายน เรียกว่า “Constitution Week”. 17 กันยายน 2004 ได้เปลื่ยนชื่อจากCitizenship Day



เป็น “Constitution Day and Citizenship Day และวันที่ 17 กันยายน 2005 ประธานาธิบดีจอร์จ บุช ได้เรียกร้องให้พลเมืองเมริกันทุกคนอุทิศตนแก่ประเทศสหรัฐ โดยยอมรับว่า”คนอเมริกันไม่ได้รวมกันเพราะสายเลือด เพราะการกำเนิดหรือเพราะแผ่นดิน แต่ทุกคนมารวมกันด้วยแนวความคิดเหนือพื้นภูมิหลัง สามารถรวมกันด้วยผลประโยชน์ร่วม นี่คือความเป็นพลเมืองอเมริกัน”
การเป็นพลเมืองอเมริกันไม่ว่าจะเป็นโดยกำเนิด (by birth)หรือโดยแปลงสัญชาติ ( by naturalization) ก็คือพลเมืองอเมริกันมีสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งตัวแทนของตนทุกระดับเข้าไปบริหารประเทศ แต่จะต้องขอใช้สิทธิ์ด้วยการลงทะเบียนเลือกตั้ง บุคคลที่แปลงสัญชาติก่อนจะเป็นพลเมืองโดยสมบูรณ์จะต้องกล่าวคำปฏิญานตน( the Oath of Allegiance)เพื่อประกาศตนว่าจะจงรักภักดีต่อประเทศ ปกป้องสหรัฐ,รัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆ สำหรับตัวเลขพลเมืองอเมริกันที่มาจากการแปลงสัญชาติมีดังนี้ ปี 2001-2004 มีผู้แปลงสัญชาติมากกว่า 2 ล้านคน ระหว่างตุลาคม 2004- สิงหาคม 2005 มีผู้แปลงสัญชาติ 475,000 คน ในระหว่างปี 1991-2000 มีผู้แปลงสัญชาติมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกันคือ 5.6 ล้านคน
ในช่วงทศวรรษ 1990 ผู้แปลงสัญชาติหากนับพื้นเพเดิมมากที่สุดคือชาวแม็กซิกัน,เวียดนามและฟิลิปปินส์

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประวัติวันแม่

กำเนิดวันแม่นักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่า วันแม่กำเนิดขึ้นตั้งแต่บรรพกาล เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งหมายถึง เทพมารดา(แม่ของเหล่าเทพเจ้าทั้งหลาย) ส่วนในอาณาจักรกรีกโบราณจะหมายถึงเทพรี(Rhea) ภรรยาของเทพสูงสุดโครนัส และเป็นแม่ของเหล่าเทพชายและเทพหญิงทั้งหลาย ขณะที่ในโรมันเทศกาลคล้ายกันนี้ จัดขึ้นเพื่อสักการะเทพไซเบล(Cybele) ซึ่งเกิดขึ้นก่อนคริสตกาลประมาณ 250 ปี

ในโดยกำหนดไว้ระหว่างวันที่ 15 ถึง 18 มีนาคม ต่อมา ราวคริสตศวรรษที่ 17 ประเทศอังกฤษเริ่มฉลองวันแม่ในรูปแบบใหม่ โดยเรียกว่า วันอาทิตย์แห่งแม่(Mothering Sunday) ซึ่งอยู่ในวันอาทิตย์ที่ 4 ของช่วงกลางฤดูถือบวช(กินระยะประมาณ 8 สัปดาห์และสิ้นสุดที่เทศกาลอีสเตอร์) โดยเปลี่ยนจากการสักการะเทพไซเบลมาเป็น การบูชามารดาแห่งโบสถ์(Mother Church) หรือพระแม่มารี(แม่ของพระเยซูคริสต์)แทน เพราะว่าเมื่อคริสตศาสนิกชนไป ล้างบาปจะนึกถึงมารดาแห่งโบสถ์เป็นสำคัญแต่วันแม่ในยุคใหม่และเป็นสากลนั้นเริ่มขึ้นที่สหรัฐอเมริกา โดยมีสแอนนา เอ็ม. จาร์วิส ผู้ซึ่งผลักดันให้เกิดวันแม่ขึ้นมา ทั้งๆ ที่ตัวแอนนาเองไม่มีการโอกาสเป็นแม่คน(ครองโสดตลอดชีวิต เพื่อดูแลน้องสาวตาบอด) แต่ด้วยความรักที่มีต่อแม่ จึงทำให้มี วันแม่ในวันนี้ขึ้น มีสซีสแอนนา รีส จาร์วีส คือชื่อของผู้เป็นแม่ ที่เป็นแรงบันดาลใจให้มีวันแม่ขึ้น เธอเป็นผู้รับใช้ทางศาสนาโดย อุทิศตนเป็นครูสอนในโรงเรียนวันอาทิตย์กว่า 20 ปี ในเวอร์จีเนีย ตะวันตก และได้ย้ายไปฟิลาเดเฟีย เพนซิลเวเนีย จนกระทั่งเสีย ชีวิตใน ค.ศ. 1950


แอนนา เอ็ม. จาร์วิส ผู้ให้กำเนิดวันแม่ใน สหรัฐอเมริกา


ด้วยความคิดถึงแม่อย่างมาก หลังจากการจากไปประมาณ 2 ปี มีสแอนนา พร้อมเพื่อนๆ ได้ร่วมกันร่างจดหมายรณรงค์ ขอการสนับสนุนจากข้าราชการ นักธุรกิจ และนักการเมืองต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดให้มีวันหยุดเป็นวันแม่แห่งชาติขึ้นมา เพราะเธอรู้สึกว่าบุตรหลานต่าง ปล่อยปะละเลยแม่ และไม่เอาใจใส่ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เท่าที่ควร โดยหวังว่า วันแม่ จะเป็นวันที่ เพิ่มความเคารพต่อบุพการีและสร้างความแข็งแกร่งแก่สถาบันครอบครัว

10 พฤษภาคม คศ.1908 คือวันแม่วันแรกที่จัดขึ้น เพื่อเป็นเกียรติแก่มีสซีสแอนนา รีส จาร์วีส โดยมีดอกคาร์เนชั่นสีขาว เป็นสัญลักษณ์แทนความรู้สึกถึงความรักที่มีต่อแม่ เพราะเป็นดอกไม้ที่มีสซีสแอนนาชอบที่สุด อีกทั้งยังแสดงถึงความอ่อนหวาน บริสุทธิ์ และเป็นอมตะอยู่เสมอ ภายหลังดอกคาร์เนชั่นสีขาวเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการรำลึกถึงแม่ที่สูญเสียไปแล้ว และดอกคาร์เนชั่นสีแดงจะแสดงถึงแม่ที่ยังมีชีวิตอยู่คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู


แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว


วันแม่ในประเทศต่าง ๆ
ประเทศอื่น ๆ ก็มีการกำหนดวันแม่ไว้เช่นเดียวกัน ดังนี้

อาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ นอร์เวย์
8 มีนาคม บัลแกเรีย, แอลเบเนีย
อาทิตย์ที่สี่ในฤดูถือบวชเล็นท์ (มาเทอริง ซันเดย์) สหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์
21 มีนาคม (วันแรกของฤดูใบไม้ผลิ) จอร์แดน, ซีเรีย, เลบานอน, อียิปต์
อาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคม โปรตุเกส, ลิทัวเนีย, สเปน, แอฟริกาใต้, ฮังการี
8 พฤษภาคม เกาหลีใต้ (วันผู้ปกครอง)
10 พฤษภาคม

กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, ประเทศส่วนใหญ่ใน ทวีปอเมริกาใต้บาห์เรน.ปากีสถาน, มาเลเซีย, เม็กซิโก, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อินเดีย, โอมาน
อาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม
แคนาดา, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), สาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, เดนมาร์ก, ตุรกี, นิวซีแลนด์, เนเธอร์แลนด์, บราซิล, เบลเยียม, เปรู, ฟินแลนด์, มอลตา, เยอรมนี, ลัตเวีย, สโลวาเกีย, สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, อิตาลี, เอสโตเนีย, ฮ่องกง
26 พฤษภาคม โปแลนด์
27 พฤษภาคม โบลิเวีย
อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม สาธารณรัฐโดมินิกัน, สวีเดน
อาทิตย์แรกของเดือนมิถุนายนหรือ อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม ฝรั่งเศส
12 สิงหาคม ไทย (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับวันแม่ประเทศไทย

ความหมายพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ไว้ดังนี้แม่ หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน พุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง หญิงที่มีครอบครัวไว้หลายนัย เช่น
๑) แม่ บางทีเรียกว่า มารดา มารดร หมายถึง เป็นใหญ่ เช่น แม่ทัพ แม่น้ำ แม่กอง เป็นต้น อันแสดงถึงความยิ่งใหญ่ภายในกิจการนั้นๆ ในที่นี้มาใช้กับผู้ให้กำเนิดแก่ลูกและหาตัวแทนไม่ได้- หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดแก่ลูก และหาตัวแทนไม่ได้- คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน- คนที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นนาย โดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง ฯลฯรวมความแล้ว "แม่" คือ ผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน โดยการรับผิดชอบนั้นมีขอบเขตภายในบ้านเรือน

๒) ชนนี หมายถึง ผู้ให้กำเนิดลูก, เป็นที่บังเกิดเกล้าของลูก๓) ภรรยา หรือภริยา หมายถึง- เมีย หรือ หญิงผู้เป็นคู่ครองของชาย- ผู้เลี้ยง หรือผู้ดูแลสมาชิกของครอบครัว
ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติวันแม่แห่งชาติหรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า "วันแม่" ทุกคนรับทราบและ ซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ ตรงกับวัน

เฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือวันที่ ๑๒ สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่แห่งชาติด้วยแต่เดิมนั้น

มีการจัดงานวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่2 งานวันแม่จึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังจากผ่านพ้นวิกฤตสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อพื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีกแต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรและมีการเปลื่ยนกำหนดหลายครั้ง

จนได้วันแม่แห่งชาติได้กำหนดเอาวันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกๆ ปีทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี ประกาศรับรอง เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงานวันแม่มาตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓

เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดีด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงาน ให้กว้างออกไปได้ การจัดงานไม่เพียงแต่จัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังจัดให้มีการประกวดแม่ของชาติ ประกวดคำขัวญวันแม่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกียรติแก่แม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของงานวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้น ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาล

ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม (สมัยนั้น) แต่ทั่วไปเรียกกันว่า วันแม่ของชาติ

แต่ต้องมาหยุดชะงักลงอีกเนื่องจากสภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งเป็นผู้จัดขาดผู้สนับสนุนเพราะกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบนั้นเองต่อมาวมาคมครูคาทอริกแห่งประเทศไทยเห็นว่าควรมีการจัดวันแม่ขึ้นมาใหม่ คือ วัน ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไปจนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๙คณะกรรมการอำนวยการสภาสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์กำหนดให้เปลี่ยนใหม่ให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นต้นมา จากหนังสือของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ชื่อแม่หลวงของปวงชน พิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ มีข้อความตอนหนึ่งเทิดพรเกียรติไว้ว่า"แม่ที่ดีย่อมรู้จักส่งเสริมธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เพราะแม่ทราบดีว่าถ้าขาดสิ่งเหล่านี้แล้ว ความเป็นไทยที่แท้จริงจะมิปรากฏอยู่บนผืนแผ่นดินไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเราแม่ที่ดีย่อมประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามระบอบของการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยรักเคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เหนือสิ่งอื่นใด หญิงไทยทุกคน ย่อมจะมีคุณลักษณะต่างๆ ของแม่ที่ดีดังกล่าวข้างต้นนี้อยู่แล้วจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการศึกษาและการฝึกหัดอบรม แต่จะหาหญิงใดที่มีคุณลักษณะครบถ้วนทุกประการเสมอเหมือน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นั้นไม่ง่ายนัก ด้วยเหตุนี้เราจึงขอเทิดทูนพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ ว่าทรงเป็นแม่หลวงของปวงชน ผู้ทรงเป็นศรีสง่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของบ้านเมืองและของปวงชนชาวไทยทั้งมวล"ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของวันแม่ของชาติตามเหตุผลของทางราชการส่วนที่เกี่ยวกับวันแม่ของไทยตามความรู้สึกนึกคิดทั่วไปของคนไทยผู้เป็นแม่ คำว่า แม่ นี้เป็นคำที่ซาบซึ้ง ไม่มีการกำหนด วัน เวลา แต่มีความหมายลึกซึ้งกินใจของผู้เป็นแม่และลูกมานานแล้ว ดังสำนวนไทยประโยคหนึ่งว่า "แม่ใครมาน้ำตาใครไหล" ซึ่งพระวรเวทย์พิสิฐได้อธิบายไว้ในหนังสือวรรณกรรมเรื่อง "แม่" ว่า "เด็กไทยตามหมู่บ้านในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นเด็กมักเล่นกันเป็นหมู่ๆ เด็กคนไหนแม่อยู่บ้าน เวลาเขาเล่นอยู่ในหมู่เพื่อนหน้าตาก็ยิ้มแย้มแจ่มใส เด็กคนไหนที่แม่ไม่อยู่บ้าน ต่างว่าไปทำมาหากินไกลๆ หรือ ไปธุระที่ไหนนานๆ ก็มีหน้าตาเหงาหงอย ถึงจะเล่นสนุกสนานไปกับเพื่อนในเวลานั้นก็พลอยสนุกไปแกนๆ จนเด็กเพื่อนๆ กันรู้กิริยาอาการ เพราะฉะนั้น พอเด็กๆ เพื่อนๆ แลเห็นแม่เดินกลับมาแต่ไกล ก็พากันร้องขึ้นว่า แม่ใครมาน้ำตาใครไหล แล้วเด็กคนนั้นผละจากเพื่อนเล่นวิ่งไปหาแม่ กอดแม่ น้ำตาไหลพรากๆ ด้วยความปลื้มปิติ แล้วจึงหัวเราะออก ลักษณะอาการที่เด็กแสดงออกมาจากน้ำใจอันแท้จริงอย่างนี้ ย่อมเกิดจากความสนิทสนม ชิดเชื้อมีเยื่อใยต่อกัน แม่ไปไหนจากบ้านก็คิดถึงลูกและลูกก็เปล่าเปลี่ยวใจเมื่อแม่ไม่อยู่บ้าน นี่คือธรรมชาติ ไม่มีใครสร้างสรรค์บันดาล มันเกิดขึ้นเอง"และอีกตอนหนึ่งในหนังสือเล่มเดิมที่อ้างข้างต้นให้ความหมายของคำว่า "แม่" ว่า "เสียงที่เปล่งออกมาจากปาก เป็นคำที่มีความหมายว่า แม่ เป็นเสียงและความหมายที่ลึกซึ้งใจมีรสเมตตาคุณ กรุณาคุณและความรักอยู่ในคำนี้บริบูรณ์ เด็กน้อยที่เหลียวหาแม่ไม่เห็นก็ส่งเสียงตะโกนเรียก แม่ แม่ ถ้าไม่เห็นก็ร้องไห้จ้า ถ้าเห็๋นแม่มาก็หัวเราะได้ทั้งน้ำตา นี่เพราะอะไร เราเดาใจเด็กว่า เมื่อไม่เห็นแม่เด็กต้องรู้สึกใจหายดูเหมือนเขาจะรู้สึกว่าขาดผู้ที่ปกปักรักษาให้ปลอดภัย แต่พอเห็นแม่เข้าเท่านั้นก็อุ่นใจ ไม่กลัวเกรงอะไรทั้งหมดเราที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว เมื่อเอ่ยคำว่าแม่ขึ้นทีไร ก็มักจะรู้สึกเกินออกไปจากความหมายที่เป็นชื่อเท่านั้น ย่อมนึกถึงความสัมพันธ์ที่แม่มีต่อเราเกือบทุกครั้ง แม่รักลูกถนอมลูก หวังดีต่อลูก จะไปไหนจากบ้านก็เป็นห่วงลูก ถึงกับแบ่งของรับประทานนั้นไว้ให้ลูก ลักษณะเหล่านี้ย่อมตรึงใจเรามิวาย"อย่างไรก็ตาม การที่ทางราชการประกาศกำหนดวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันแม่แห่งชาติ ย่อมก่อให้เกิดวันอันเป็นที่ระลึกที่สำคัญยิ่งของไทยเราวันหนึ่ง และกำหนดให้ถือว่า ดอกมะลิ สีขาวบริสุทธิ์ เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่ตัวเรา อย่างคำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ที่ว่า
ดอกเอ๋ยดอกมะลิ

ถึงยามผลิกลิ่นพราวสกาวต้น

สดสะอาดปราศสีราคีระคน

เหมือนกมลใสสดหมดระคาย

กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง

เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย

อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย

ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย

ดอกไม้ประจำวันแม่ ดอกมะลิ

ดอกมะลิ ถูกเลือกเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย


มะลิมีลักษณะต้นเป็นไม้พุ่ม ไม้เลื้อย และไม้รอเลื้อย ใบมีทั้งใบเดี่ยวและใบรวม การจัดเรียงตัวของใบมีทั้งแบบใบอยู่ตรงกันข้าม ใบแบบสลับกัน ดอกมีสีขาว กลีบดอกมีชั้นเดียวและหลายชั้น เป็นดอกเดี่ยวและดอกช่อดอกจะออกจากยอดหรือข้างกิ่งส่วนมากมีกลีบเลี้ยง 4-9 กลีบ กลีบดอกมี 4-9 กลีบ โดยปกติดอกจะเริ่มบานในเวลาบ่ายแล้วร่วงในวันรุ่งขึ้น มะลิจะให้ดอกมากในฤดูร้อนและฤดูฝนแล้วจะน้อยที่สุดในฤดูหนาว
มะลิเป็นไม้ดอกสีขาวที่มีกลิ่นหอม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น เก็บดอกมาร้อยเป็นพวงมาลัย ทำเป็นดอกไม้แห้ง หรือนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหย นอกจากการใช้ประโยชน์จากดอกมะลิแล้ว ส่วนต่าง ๆ ของมะลิก็ยังนำมาใช้เป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคได้ เช่นดอกสด ดอกแห้ง ใบสด ต้น ราก
ดอกมะลิ มีหลายชนิดหลายพันธุ์ เท่าที่ คุ้นๆ ชื่อกัน ก็มีทั้ง ดอกมะลิซ้อน มะลิลา มะลิวัลย์ ฯลฯ ค่ะ
มะลิซ้อน มะลิลา เป็นไม้พุ่ม มีสูงประมาณ 1.5 เมตร มีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกันบางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อย ใบเป็นแบบใบเดี่ยวออกตรงข้าม สีเขียวอมเหลือง สัณฐานของใบเป็นรูปไข่ปลายใบแหลม ดอกมีทั้งดอกซ้อนและดอกลาออกเป็นช่อเล็ก ๆ ดอกที่อยู่ตรงกลางจะบานก่อน กลีบดอกจะบานก่อน กลีบดอกสีขาวโคนดอกติดกันเป็นหลอดสีเขียวอมเหลือง มีกลิ่นหอมชื่นใจและค่อนข้างจัด เกสรตัวผู้มี 2 อัน ออกเอกมากในฤดูร้อนและฤดูฝน ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำและการตอน
มะลินอกจากจะเก็บดอกมาร้อยเป็นพวงมาลัย ทำเป็นดอกไม้แห้ง หรือนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหยแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างเช่น

มะลิซ้อน



ดอกสด - ใช้รักษาโรคตาเจ็บ แก้ไข้ตัวร้อน แก้หวัดดอกแห้ง - ใช้ปรุงเป็นสารแต่งกลิ่น ใบสด - นำมาตำให้ละเอียดจะช่วยรักษาแผลพุพองและแผลฝีดาษ ต้น - ใช้รักษาโรคคุดทะราด ขับเสมหะและโลหิต ราก นำมาฝนใช้แก้ปวด รักษาโรคร้อนในและอาการเสียดท้อง


มะลิวัลย์
ราก ใช้เป็นยาถอนพิษต่าง ๆ ได้ จากการที่มีการนำมะลิมาใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน จึงทำให้มะลิเป็นไม้ดอกที่มีความสำคัญทางการค้ามากขึ้น พื้นที่ปลูกที่สำคัญของไทย ได้แก่ จังหวัดนครปฐม นครสวรรค์ พิษณุโลก ลำพูน หนองคาย และสมุทรสาคร การจำหน่ายมะลิจะมีทั้งในและต่างประเทศโดยตลาดต่างประเทศจะมีการส่งออกในรูปของพวงมาลัย ดอกมะลิสดและต้นมะลิ
ที่มา.
วิกิพีเดีย +
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=437870
http://webserv.kmitl.ac.th/

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วันพืชมงคล

ประวัติความเป็นมา

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีสิริมงคล เพื่อบำรุงขวัญแก่เกษตรกร จึงเป็นวันที่มีความสำคัญ โบราณกาลจึงได้วางหลักเกณฑ์ให้ประกอบพิธีในวันที่ดีที่สุดของแต่ละปี ประกอบด้วย ขึ้น แรม ฤกษ์ยาม ให้ได้วันอันเป็นอุดมฤกษ์ตามตำราโหราศาสตร์แต่ต้องอยู่ในระหว่างเดือน ๖ โดยที่มีประเพณีต้องหาฤกษ์ตามตำราทางจันทรคติพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จึงไม่ได้กำหนดวันเวลาไว้ตายตัว ตามปกติแล้วจะตกอยู่ในระหว่างเดือนพฤษภาคม การที่ต้องกำหนดให้อยู่ในเดือน ๖ ก็เพราะเดือนนี้เริ่มจะเข้าฤดูฝน เป็นระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา จะได้เตรียมทำนาอันเป็นอาชีพหลักสำคัญของชาวไทยมาแต่โบราณ เมื่อโหรหลวงคำนวณได้วันอุดมมงคลพระฤกษ์ ที่จะประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแล้ว

สำนักพระราชวังจะได้ ลงไว้ในปฏิทินหลวงที่พระราชทานในวันขึ้นปีใหม่ทุกปีและได้กำหนดไว้ว่าวันใดเป็นวันพืชมงคล วันใดเป็นวันจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ วันแรกนาขวัญเป็นวันสำคัญของชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติให้หยุดราชการ ๑ วัน และมีประกาศให้ชักธงชาติตามระเบียบทางราชการ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญได้ปฏิบัติเป็นราชประเพณี ตลอดมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๗๙ แล้วได้เว้นว่างไป ต่อมา พ.ศ. ๒๔๘๓ ทางรัฐบาลสั่งให้กำหนดมีการพระราชพิธีเฉพาะแต่พืชมงคลที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามตามราชประเพณีที่เคยปฏิบัติมา

การประกอบพระราชพิธี พระราชพิธีพืชมงคลเป็นส่วนประกอบเพื่อสิริมงคลแก่พันธุ์พืชสำหรับนำไปใช้ในการพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ กำหนดงานก่อนวันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ๑ วัน มีอ่านประกาศ ถึงความสำคัญที่จะเริ่มพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในประกาศ นั้น อ้างหลักธรรมทางพุทธศาสนาสมัยพุทธกาล คราวเกิดฝนแล้ง ด้วยพุทธานุภาพทรงบันดาลให้ฝนตก ทำนา ทำไร่ หว่านพืชผลได้ตามปรกติ และกล่าวถึงตำนานการสร้างพระคันธารราษฎร์อันเกี่ยวด้วยพุทธานุภาพ ที่ทรงบันดาลให้ฝนตกจึงได้สร้างพระพุทธรูปนี้ขึ้น ณ เมืองคันธารราษฎร์ในครั้งอดีตกาล จากนั้นประกาศสดุดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกองค์ปฐมกษัตริย์ ที่ได้ทรงงสร้างพระพุทธคันธารราษฎร์ขึ้นไว้เพื่อประกอบการพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญตามตำนานที่มีมา แต่โบราณกาล ซึ่งเป็นราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ทรงอนุวัติจัดงานพระราชพิธีนี้สืบมา สุดท้ายประกาศถวายพระพรชัยมงคล และขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาเทพยดาทั้งปวงประสิทธิ์ประสาทให้พืชพันธุ์ธัญญาหารในราชอาณาจักรอุดมสมบูรณ์งอกงาม เจริญดี ตลอดจนขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล จบประกาศแล้วพระสงฆ์๑๑ รูป เจริญพระพุทธมนต์เป็นคาถาพิเศษสำหรับพืชมงคลโดยเฉพาะ เพื่อเสกพืชพันธุ์ต่าง ๆ ที่ได้นำมาตั้งเข้าพิธีมณฑลมีข้าวเปลือกพันธุ์ต่างๆ ถั่วทุกชนิด ข้าวโพด งา ฟัก แฟง แตงกวา เผือก มัน ฝ้าย เป็นต้น


ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เลขาธิการพระราชวังพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่าพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ แต่เดิมจัดเป็น ๒ วันแล้วได้ระงับไปคงได้แต่พิธีพืชมงคลจัดเป็นงานประจำทุกปี สำหรับปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ทางรัฐบาลเห็นควรจัดให้มีการแรกนาขวัญขึ้นอย่างเดิมเพื่อรักษาบูรพประเพณีอันเป็นมิ่งขวัญของการเกษตรไว้สืบต่อไป สำนักพระราชวังและกระทรวงเกษตรจึงได้กำหนดงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญตามราชประเพณีเดิมขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ จนถึงปัจจุบันนี้ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานการพระราชพิธีทุกปี ทรงมีพระราชกระแสให้ปรับปรุงพระราชพิธีเพื่อความเหมาะสมตามยุคสมัยด้วยพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแต่เดิมมาทำที่ทุ่งนาพญาไท เมื่อได้มีการฟื้นฟูพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นใหม่ จึงจัดให้มีขึ้นที่ท้องสนามหลวง ซึ่งเคยเป็นที่ประกอบพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในรัชกาลที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓

ส่วนผู้ที่จะเป็นพระยาแรกนาในสมัยก่อนเคยโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ เป็นพระยาแรกนา และผู้ที่เป็นเทพีหาบกระบุงทอง กระบุงเงิน บรรจุข้าวเปลือกหว่านนั้น โปรดเกล้าฯ ให้จัดท้าวนางฝ่ายใน เมื่อเวลาได้เปลี่ยนแปลงหน้าที่ตำแหน่งไปแล้วเช่นนี้ เมื่อเริ่มฟื้นฟูพระราชพิธีจรดพระมังคัลแรกนาขวัญขึ้นมาใหม่ พระยาแรกนาจึงได้แก่ อธิบดีกรมการข้าวกระทรวงเกษตร เทพีได้คัดเลือกจากข้าราชการสตรีผู้มีเกียรติในกระทรวงเกษตรในปีต่อมาจนปัจจุบันผู้เป็นพระยาแรกนา ได้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนเทพีนั้นคัดเลือกจากข้าราชการสตรีโสดในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระดับ ๓ - ๔ คือขั้นโทขึ้นไป

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีเพื่อสิริมงคลแก่พืชพันธุ์ธัญญาหารสนับสนุนส่งเสริมชาวไร่ ชาวนาในการประกอบอาชีพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งได้เสด็จฯมาเป็นประธานอธิษฐานขอความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารให้มีแก่อาณาจักรไทย และได้ทรงปลูกพันธุ์ข้าวทดลองในนาทดลองบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ซึ่งเป็นพระราชฐานที่ประทับ เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วพระราชทานนำมาเข้าในพระราชพิธี ประมาณ ๔๐ - ๕๐ กิโลกรัม เมล็ดพันธุ์ข้าวที่พระราชทานมาเข้าพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แบ่งไปหว่านที่ลานประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญส่วนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งจัดบรรจุซองส่งไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรสำหรับแจกจ่ายแก่เกษตรกร เพื่อเป็นสิริมงคลตามพระราชประสงค์ที่ทรงส่งเสริมการเกษตร

ที่มา


วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ฉัตรมงคล วันฉัตรมงคล 5 พฤษภาคม "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

ความสำคัญ วันฉัตรมงคล เป็นวันที่ระลึกในการครบรอบปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับพระบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยโดยสมบูรณ์ คือ พระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาอยู่ ณ ทวีปยุโรป จนกระทั่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้วจึงได้เสด็จนิวัติในประเทศไทย และรัฐบาลไทยได้น้อมเกล้า ฯ จักพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถวาย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 เหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้ถือเอาวันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันฉัตรมงคลรำลึก พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จรพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเฉลิมฉลองโดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดเจริญพุทธมนต์

ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 รุ่งขึ้นมีการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่พระที่นั่งดิสิมหาปราสาทด้วยเหตุนี้จึงถือว่า การเฉลิมฉลองพระราชพิธีฉัตรมงคลเริ่มมีในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 วันบรมราชาภิเษกตรงกับเดือน 12 จะโปรดเกล้า ฯ ให้จัดงานฉัตรมงคลในเดือน 12 ก็ไม่มีผู้ใหญ่ท่านใดยินยอม จึงทรงแก้ไขด้วยการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยตราจุลจอมเกล้าสำหรับตระกูลขึ้น ให้มีพระราชทานตรานี้ตรง

วันคล้ายบรมราชาภิเษก ท่านผู้ใหญ่จึงยินยอมให้เลื่อนงานฉัตรมงคลมาตรงกับวันบรมราชาภิเษก แต่ยังให้รักษา ประเพณีสมโภชเครื่องราชูโภคอยู่ตามเดิม

รูปงานวันฉัตรมงคลจึงเป็นดังนี้จนถึงปัจจุบันการจัดงานวันฉัตรมงคลในปัจจุบันในขั้นตอนการจัดงานฉัตรมงคลในปัจจุบัน มักกำหนดให้เป็น 3 วัน คือ

วันที่ 3 พฤษภาคม มีงานบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน คือ พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่พระบรมราชบุพการี ซึ่งเป็นพิธีสงฆ์ ณ พระที่นั่งอมรินทน์วินิจฉัย ซึ่งในวันนี้ได้เพิ่มพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพลที่จะพระราชทานแก่หน่วยทหารบางหน่วยเข้าไว้ด้วยในวันที่ 4 พฤษภาคม เป็นวันเริ่มพระราชพิธีฉัตรมงคล เจ้าพนักงานจะได้อัญเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์ขึ้นประดิษฐานบนพระแท่นใต้พระมหาปฎเศวตฉัตร พระครูหัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล แล้วทรงสดับพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ในวันที่ 5 ซึ่งเป็นวันฉัตรมงคล พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ทรงบูชาเครื่องกกุธภัณฑ์ พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภช พระมหาเศวตฉัตรและราชกกุธภัณฑ์ตอนเย็นพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าแก่ผู้มีความดีความชอบ แล้วเสด็จนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ปราสาทพระเทพบิดร เป็นเสร็จพระราชพิธีในวันฉัตรมงคลสำนักพระราชวังได้เปิดปราสาทหลายแห่งให้ประชาชนได้เข้าชมและถวายบังคม

งานพระราชพิธีฉัตรมงคล เป็นเครื่องหมายยืนยันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติมาครบรอบปีด้วยดีอีกวาระหนึ่ง และตลอดเวลาที่ผ่านมา พระองค์ได้ประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและปวงชนชาวไทยนับอเนกอนันต์ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ประชาชนชาวไทยจึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองเนื่องในวันฉัตรมงคลเป็นประจำทุกปี
ที่มา http://story.thaimail.com/5may/


นพปฎลมหาเศวตฉัตร
ขั้นตอนของพิธีที่สำคัญ แบ่งออกเป็น 5 ลำดับ ดังนี้
1. ขั้นเตรียมพิธี 2. พิธีเบื้องต้น 3. พิธีบรมราโชวาท 4. พิธีเบื้องปลาย และ 5. เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร1. ขั้นเตรียมพิธี
มีการตักน้ำและตั้งพิธีเสกน้ำสำหรับถวายเป็นน้ำอภิเษก และน้ำสรงมูรธาภิเษก สำหรับน้ำอภิเษกนั้น ต้นตำราให้ใช้น้ำจากสถานที่สำคัญต่างๆ 18 แห่ง และทำพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ ณ พุทธเจดีย์ที่สำคัญตามจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร แล้วส่งเข้ามาเจือปนเป็นน้ำมูรธาภิเษกให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสรง และทรงรับน้ำอภิเษกในวันพระราชพิธีราชาอภิเษกต่อไป
นพปฎลมหาเศวตฉัตร
พระพุทธเจดีย์ที่สำคัญที่ตั้งพิธีทำน้ำอภิเษก ทั้ง 18 แห่ง คือ1. จังหวัดสระบุรี ที่ตั้งพระพุทธบาท 2. จังหวัดพิษณุโลก ที่ตั้งวัดพระศรีมหาธาตุ 3. จังหวัดสุโขทัย ที่ตั้งวัดพระมหาธาตุ 4. จังหวัดนครปฐม ที่ตั้งพระปฐมเจดีย์ 5. จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ตั้งวัดพระมหาธาตุ 6. จังหวัดลำพูน ที่ตั้งวัดพระธาตุหริภุญชัย 7. จังหวัดนครพนม ที่ตั้งวัดพระธาตุพนม 8. จังหวัดน่าน ที่ตั้งวัดพระธาตุแช่แห้ง 9. จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ตั้งวัดบึงพระลานชัย 10. จังหวัดเพชรบุรี ที่ตั้งวัดมหาธาตุ 11. จังหวัดชัยนาท ที่ตั้งวัดพระบรมธาตุ 12. จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ตั้งวัดโสธร 13. จังหวัดนครราชสีมา ที่ตั้งวัดพระนารายณ์มหาราช 14. จังหวัดอุบลราชธานี ที่ตั้งวัดศรีทอง 15. จังหวัดจันทบุรี ที่ตั้งวัดพลับ 16. จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ตั้งวัดมหาธาตุ อำเภอไชยา 17. จังหวัดปัตตานี ที่ตั้งวัดตานีณรสโมสร 18. จังหวัดภูเก็ต ที่ตั้งวัดทอง
น้ำสำหรับมูรธาภิเษกเป็นน้ำที่เจือด้วยน้ำจากปัญจมหานทีในอินเดีย คือ แม่น้ำคงคา ยมนา อิรวดี สรภู มหิ และจากปัญจสุทธคงคา ในแม่น้ำสำคัญทั้ง 5 ของไทย คือ
แม่น้ำเจ้าพระยา ตักที่ตำบลบางแก้ว จังหวัดอ่างทอง แม่น้ำเพชรบุรี ตักที่ตำบลท่าชัย จังหวัดเพชรบุรี แม่น้ำราชบุรี ตักที่ตำบลดาวดึงส์ จังหวัดสมุทรสงคราม แม่น้ำป่าสัก ตักที่ตำบลท่าราบ จังหวัดสระบุรี แม่น้ำบางปะกง ตักที่ตำบลบึงพระอาจารย์ จังหวัดนครนายก และน้ำ 4 สระ คือสระเกษ สระแก้ว สระคงคา สระยมนา ในจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเคยใช้เป็นน้ำสรงมาแต่โบราณ
นอกจากนี้ยังมีพิธีจารึกพระสุพรรณบัฎดวงพระบรมราชสมภพ (ดวงเกิด) และแกะพระราชลัญจกร (ดวงตราประจำรัชกาล) โดยได้มีการประกอบพิธีจารึกพระสุพรรณบัฎในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2493 ในพระอุโบสถวัดพระศรีศาสดาราม



2. พิธีในเบื้องต้น
มีการตั้งน้ำวงด้าย จุดเทียนชัย และเจริญพระพุทธมนต์ในการพระบรมราชาภิเษก
3. พิธีบรมราชาภิเษก
เริ่มด้วยการสรงพระมุรธาภิเษกจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรพระราชอาสน์ ราชบัณฑิตและพราหมณ์นั่งประจำ 8 ทิศ กล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล ถวายดินแดนแต่ละทิศให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคุ้มครอง (ในรัชกาลนี้ได้เปลี่ยนจากราชบัณฑิตเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน)
ในวันที่ 5 พฤษภาคม อันเป็นวันประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสรงมูรธาภิเษก แล้วทรงเครื่องต้นเสด็จออกประทับ เหนือพระที่นั่งอัฐทิศภายใต้สตปฎลเศวตฉัตร (ฉัตร 7 ชั้น) สมาชิกรัฐสภาถวายน้ำอภิเษก และพราหมณ์ทำพิธีพวายน้ำเทพมนต์เวียนไปครบ 8 ทิศ เจ้าพระยาศรีธรรมธิเบศ (จิตต์ ณ สงขลา) ประธานวุฒิสมาชิกสภา ถวายพระพรเป็นภาษามคธ และนายเพียร ราชธรรมนิเทศ ประธานสภาผู้แทนราษฎรถวายพระพรเป็นภาษาไทย พระราชครูวามเทพมุนี ถวายนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ฉัตร 9 ชั้น) แล้วเสด็จพระราชดำเนินสู่พระที่นั่งภัทรบิฐ พราหมณ์ร่ายเวทเปิดศิวาลัยไกลาลทูลเกล้าฯ ถวายพระสุพรรณบัฎ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชูปโภค และพระแสงอัษฎาวุธ ด้วยภาษามคธ สำหรับพระสุพรรณบัฎ ได้จารึกพระปรมาภิไธยว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร"
เมื่อทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ต่างๆ แล้ว พระราชครูวามเทพมุนี ถวายพระพรชัยมงคลด้วยภาษามคธ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการตอบ พระราชอารักษาแต่ปวงชนชาวไทย ด้วยภาษาไทยว่า
"เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
เมื่อพระราชครูวามเทพมุนีรับพระราชโองการด้วยภาษามคธและภาษาไทยแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรางหลั่งน้ำทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน จะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปกครองราชอาณาจักรไทยโดยทศพิธราชธรรมจริยา จากนั้นทรงเปลื้องพระมหาพิชัยมงกุฎ พระธำมรงค์รัตนวราวุธ และพระธำมรงค์วิเชียรจินดา จมื่นสิริวังรัตน (เฉลิม คชาชีวะ) เลขาธิการพระราชวัง ทูลเกล้าฯ ถวายดอกพิกุลทอง พิกุลเงิน ทรงโปรยพระราชทานแก่พราหมณ์ แล้วเสด็จฯ ออกจากพระที่นั่งไพศาลทักษิณ สู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์ 80 รูป พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา สมเด็จพระสังฆราชถวายอดิเรกเป็นปฐม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ถวายพระพรลา แล้วเสด็จขึ้น สมเด็จพระสังฆราชดับเทียนชัย
4. พิธีเบื้องปลาย เสด็จออกมหาสมาคม
เวลาบ่ายของวันที่ 5 พฤษภาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จออกมหาสมาคม ที่พระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย ให้คณะรัฐมนตรี คณะฑูต สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทน และข้าราชการเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อกราบทูลถวายพระพรชัยมงคล โดยมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี กราบทูลในนามคณะรัฐมนตรีและข้าราชการทั่วพระราชอาณาจักร และพระยาศรีธรรมาธิเบศ ประธานรัฐสภา กราบทูลในนามประชาชนชาวไทย แล้วทรงมีพระบรมราชโองการตรัสตอบขอบใจทั่วกัน แล้วเสด็จขึ้น
นอกจากนี้ยังมีพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระราชินี ประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภกในพระบวรพุทธศาสนา ถวายพระบังคมพระบรมศพ พระบรมอัฐิ พระอัฐิพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระอัครมเหสีในรัชกาลก่อนๆ และเสด็จเฉลิมพระราชมณเฑียร
5. เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร
การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค จัดเป็นราชประเพณีที่สำคัญพิธีหนึ่ง เมื่อเสด็จพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทั้งนี้เพื่อให้พสกนิกร ได้มีโอกาสชื่นชมพระบารมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่


การจัดพระราชพิธีเฉลิมฉลองวันฉัตรมงคลในอดีต
แต่เดิมเป็นงานพิธีของเจ้าพนักงานในพระราชฐานที่มีหน้าที่รักษาเครื่องราชูปโภคและพระทวารประตูวัง ได้จัดการสมโภชสังเวยเครื่องราชูปโภคที่ตนรักษาทุกปีในเดือนหก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า ในอารยประเทศย่อมนับถือว่า วันคล้ายวันบรมราชาภิเษกเป็นวันมงคลสมัยควรเฉลิมฉลอง จึงทรงริเริ่มวันฉัตรมงคลขึ้นแต่เนื่องจากเป็นธรรมเนียมใหม่ อธิบายให้ใครฟังก็ไม่ค่อยเข้าใจ เผอิญวันบรมราชาภิเษกไปตรงกับวันสมโภชเครื่องราชูปโภคที่มีมาแต่เดิม จึงทรงอธิบายว่า ฉัตรมงคลเป็นวันสมโภชเครื่องราชูปโภค ทำให้ไม่มีใครติดใจสงสัยอะไร ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเฉลิมฉลองโดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดเจริญพุทธมนต์ในวันขึ้น 13 ค่ำเดือน 6 รุ่งขึ้นมีการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
ด้วยเหตุนี้จึงถือว่า การเฉลิมฉลองพระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มมีในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรก
ในสมัยรัชกาลที่ 5 วันบรมราชาภิเษกตรงกับเดือน 12 จะโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉัตรมงคลในเดือน 12 ก็ไม่มีผู้ใหญ่ท่านใดยินยอม จึงทรงแก้ไขด้วยการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยตราจุลจอมเกล้าสำหรับตระกูลขึ้น ให้มีการพระราชทานตรานี้ตรงกับวันคล้ายบรมราชาภิเษก ท่านผู้หลักผู้ใหญ่จึงยินยอม ให้เลื่อนงานวันฉัตรมงคลมาตรงกับวันบรมราชาภิเษก แต่ยังให้รักษาประเพณีสมโภชเครื่องราชูปโภคอยู่อย่างเดิม รูปงานวันฉัตรมงคลจึงเป็นดังนี้จนถึงปัจจุบัน
การจัดงานวันฉัตรมงคลในปัจจุบัน
ขั้นตอนการจัดงานวันฉัตรมงคลในปัจจุบัน มักกำหนดให้เป็น 3 วัน คือวันที่ 3 พฤษภาคม มีงานบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน คือ พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่พระบรมราชบุพการี ซึ่งเป็นพิธีสงฆ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ซึ่งในวันนี้ได้เพิ่มพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพล ที่จะพระราชทานแก่หน่วยทหารบางหน่วยเข้าไว้ด้วย
ในวันที่ 4 พฤษภาคม เป็นวันเริ่มพระราชพิธีฉัตรมงคล เจ้าพนักงานจะได้อัญเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ขึ้นประดิษฐานบนแท่นใต้พระมหาปฎลเศวตฉัตร พระครูหัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล แล้วทรงสดับพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
ในวันที่ 5 ซึ่งเป็นวันฉัตรมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ทรงบูชาเครื่องกกุธภัณฑ์ พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภช พระมหาเศวตฉัตรและราชกกุธภัณฑ์ตอนเย็นพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าแก่ผู้มีความดีความชอบ แล้วเสด็จ นมัสการพระพทุธมหามณีรัตนปฏิมากร และถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ที่ปราสาทพระเทพบิดร เป็นเสร็จพระราชพิธีในวันฉัตรมงคล สำนักพระราชวังได้เปิดปราสาทหลายแห่งให้ประชาชนได้เข้าชมและถวายบังคม
ในงานพระราชพิธีฉันมงคล เป็นเครื่องหมายยืนยันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติมาครบรอบขวบปีด้วยดีอีกวาระหนึ่ง และตลอดเวลาที่ผ่านมา พระองค์ได้ประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและปวงชนชาวไทยนับอเนกอนันต์ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ประชาชนชาวไทยจึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองเนื่องในวันฉัตรมงคลเป็นประจำทุกปี

เครื่องเบญจกกุธภัณฑ์


พระแสงขรรค์ชัยศรี

เครื่องเบญจกกุธภัณฑ์



วารวิชนี


พระมหาพิชัยมงกุฏ


ธารพระกร