วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วันบิดาแห่งฝนหลวง (14 พฤศจิกายน)

วันบิดาแห่งฝนหลวง ทุกวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี
ความเป็นมาของโครงการพระราชดำริฝนหลวง
ต้นกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง "...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มี มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้..."
จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆเป็นประจำ ได้ทรงพบเห็นท้องถิ่นหลายๆแห่งประสบปัญหาความ แห้งแล้ง หรือขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการทำเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรจะประสบความเดือดร้อน ทุกข์ยากมาก เนื่องจาก บางครั้งฝนได้ทิ้งช่วงนานหรือภาวะฝนทิ้งช่วงเกิดในระยะวิกฤติของพืชผล คือพืชอยู่ในระยะที่กำลังให้ผลผลิตต่ำ หรืออาจจะไม่มี ผลผลิตให้เลย เป็นต้น ดังนั้นภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงใน แต่ละครั้ง/แต่ละปีจึงสร้างความเดือดร้อน และความสูญเสียทาง เศรษฐกิจแก่เกษตรกรเป็นอย่างสูง นอกจากนี้ภาวะความ ต้องการใช้น้ำนับวันจะทวีปริมาณความต้องการเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการเพิ่มของ ประชากร การขยายพื้นที่เกษตรกรรมและการเจริญเติบตของกลุ่มอุตสาหกรรม
ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลและทรง ความอัจฉริยะในพระองค์ท่านดังนั้นในปี พุทธศักราช 2498 จึงได้มีพระราชดำริค้นหาวิธีการ ที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือ จากที่จะได้รับ จากธรรมชาติโดยนำเทคโนโลยีนำสมัยและทรัพยากร ที่มีอยู่ประยุกต์กับศักยภาพของการเกิดฝน ในเขตร้อน เช่น ประเทศไทยมุ่งขจัดปัญหา ความเดือดร้อนดังกล่าว และทรงมีพระราชหฤทัย เชื่อมั่นว่าวิธีการดังกล่าวนี้ จะทำให้ การพัฒนาระบบการจัดทรัพยากรน้ำของชาติเกิด ความพร้อม และครบ บริบูรณ์ตามวัฏจักรของ น้ำ คือ
1. การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใต้ดิน
2. การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำผิวดิน

3. การพัฒนา การ จัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใน บรรยากาศ
และทรงเชื่อมั่นในพระราชหฤทัย ว่าด้วย ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ ของประเทศจะ สามารถดำเนินการให้บังเกิดผลสำเร็จได้ อย่างแน่นอน ดังนั้นในปี พุทธศักราช 2499 จึงได้ทรง พระมหากรุณาพระราชทาน โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ให้หม่อมราชวงศ์ เทพฤทธิ์ เทวกุล รับไปดำเนินการศึกษาวิจัย และการพัฒนากรรมวิธีการทำฝนให้บังเกิดผลโดยเร็ว
กำลังโปรยสารเคมี
วิธีการทำฝนหลวง
1. เทคโนโลยีฝนหลวง เทคโนโลยีฝนหลวงเป็นเทคนิค หรือ วิชาการที่เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพอากาศ โดยเน้นการทำฝน เพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และ/หรือ เพื่อให้ฝนตกกระจายอย่างสม่ำเสมอ (Rain redistribution) สำหรับป้องกันหรือบรรเทาภาวะแห้งแล้งที่เกิดจากฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงนั้น เป็นวิชาการที่ใหม่สำหรับประเทศไทยและของโลก ข้อมูลหลักฐาน (evidence) ที่ใช้พิสูจน์ยืนยัน เพื่อให้เกิดการยอมรับในระดับนักวิชาการและผู้บริหารระดับสูง ถึงผลปฏิบัติการฝนหลวงทั้งทางด้านกาย -ภาพ (Physic) และด้านสถิติ (Statistic) มีน้อยมาก ดังนั้น ในระยะแรกเริ่มของการทดลองและวิจัย กรรมวิธีการปฏิบัติการฝนหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงติดตามผลการวางแผนการทดลองปฏิบัติการ การสังเกตจากรายงานแทบทุกครั้งโดยใกล้ชิด ทรงหาความรู้และประสบการณ์จากนักวิชาการที่ทรงคุณวุฒิทางด้านอุตุนิ-ยมวิทยา โดยได้รับสั่งให้เชิญ พล.ร.ท.สนิท เวสารัชนันท์ ร.น. อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา พล.ร.ต.พิณ พันธุทวี ร.น. พร้อมด้วยนักวิชาการอื่นๆ มาเป็นคณะทำงานถวาย -ความคิดเห็น วิเคราะห์ผลปฏิบัติการที่ทางคณะปฏิบัติการฝนหลวง ได้ทดลองสังเกตผลการเปลี่ยนแปลงแล้ว ทำรายงานเสนอเป็นประจำ

2. กรรมวิธีการทำฝนหลวง
ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อกวน" เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติ เริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการฝนหลวง ในขั้นตอนนี้ จะมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้น ให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่ เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำ หรือ ความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิด เมฆ ระยะ เวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ ไม่ควรเกิน 10.00 น. ของแต่ละวัน โดยการใช้ สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวล อากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำ (มี ค่า Critical relative humidity ต่ำ)เพื่อกระตุ้น กลไกของกระบวน การกลั่นตัวไอน้ำในมวล อากาศ (เป็นการสร้าง Surrounding ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมฆด้วย) ทางด้านเหนือ ลมของพื้นที่เป้าหมายเมื่อเมฆเริ่ม เกิดมีการก่อตัวและเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคาย ความร้อนโปรยเป็นวงกลม หรือเป็นแนวถัดมา ทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้นๆ เข้าสู่ ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม(main cloud core) ในบริเวณ ปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นศูนย์กลาง ที่ จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอน ที่ สอง : "เลี้ยง ให้ อ้วน" เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลัง ก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมาก ในการปฏิบัติการฝนหลวง เพราะจะต้องไปเพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไปต้อง ใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์หรือศิลปะแห่ง การทำฝนควบคู่ไปพร้อมๆ กัน เพื่อตัดสินใจ โปรยสารเคมีฝนหลวงชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่ม ก้อนเมฆ และใน อัตราใดจึงเหมาะสม เพราะ ต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุล กับความแรงของ updraft มิฉะนั้นจะทำให้เมฆ สลาย
ขั้นตอน ที่ สาม : "โจมตี" เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธี ปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝนมี ความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็น ฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาด ใหญ่มากมาย หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้ จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีก และกระจังหน้า ของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ และอาศัย ประสบการณ์มาก เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อ ลดความรุนแรงของ updraft หรือทำให้อายุของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของ การทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ 2 ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน (Rain redistribution)

ฝนตกแล้วละ

เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ประกอบในการทำฝนหลวง

1. เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา ใช้ใน การตรวจวัด และศึกษาสภาพอากาศประกอบการ วางแผนปฏิบัติการ นอกเหนือจากแผนที่อากาศ ภาพถ่าย ดาวเทียมที่ได้รับการ สนับสนุนเป็นประจำวัน จาก กรมอุตุนิยมวิทยาที่มีใช้ได้แก่

1.1 เครื่องวัดลมชั้นบน (Pilot Balloon) ใช้ตรวจวัดทิศทางและความเร็ว ลมระดับสูงจากผิวดินขึ้นไป
1.2เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (Radiosonde) เป็นเครื่องมือ อิเล็คทรอนิคส์ประกอบด้วยเครื่องส่งวิทยุ ซึ่งจะติดไปกับบอลลูน และเครื่องรับสัญญาณวิทยุ ซึ่งจะบอกให้ทราบถึงข้อมูลอุณหภูมิความชื้น ของบรรยากาศในระดับต่างๆ

1.3เรดาร์ ตรวจอากาศ (Weather Radar) ที่มีใช้อยู่เป็นแบบติดรถยนต์ เคลื่อนที่ได้มีประสิทธิภาพ สามารถบอกบริเวณ ที่มีฝนตกและความแรง หรือปริมาณน้ำฝน และการเคลื่อนที่ของกลุ่มฝนได้ในรัศมี 200-400 กม. ซึ่งนอกจากจะใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติการแล้ว ยังใช้เป็นหลักฐาน ในการประเมิน ผลปฏิบัติการฝนหลวงอีกด้วย


1.4เครื่องมือตรวจ อากาศผิวพื้นต่างๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิเครื่องวัด ความเร็วและทิศทางลมเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้น

2. เครื่องมือเตรียมสารเคมี ได้แก่เครื่อง บดสารเคมีเครื่องผสมสารเคมี ทั้งแบบน้ำและ แบบผง ถัง และ กรวยโปรยสารเคมี เป็นต้น
3. เครื่องมือ สื่อสาร ใช้ในการติดต่อ สื่อสารและสั่งการระหว่างนักวิชาการบน เครื่องบิน กับฐานปฏิบัติการ หรือระหว่างฐาน ปฏิบัติการ 2 แห่ง หรือใช้รายงานผล ระหว่างฐาน ปฏิบัติงานสำนักงานฯ ในส่วนกลางโดยอาศัยข่าย ร่วมของวิทยุตำรวจ ศูนย์สื่อสารสำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย วิทยุเกษตร และกรม ไปรษณีย์ โทรเลข เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ใน ปัจจุบัน ได้แก่วิทยุซิงเกิลไซด์แบนด์ วิทยุ FM.1, FM.5 เครื่องโทรพิมพ์ เป็นต้น
4. เครื่องมือ ทาง วิชาการ อื่นๆ เช่นอุปกรณ์ ทางการวางแผนปฏิบัติการ เข็มทิศ แผนที่ กล้อง ส่อง ทางไกล เครื่องมือตรวจสอบสารเคมี กล้องถ่ายภาพ และ อื่นๆ
5. สถานีเรดาร์ฝนหลวง ในบรรดาเครื่องมืออุปกรณ์ วิทยาศาสตร์ ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศ ประยุกต์จำนวน 8 รายการนั้น Doppler radar จัดเป็นเครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ที่มีมูลค่าสูงสุด Doppler radar นี้ใช้เพื่อวางแผนการทดลองและติดตาม ประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวง สาธิตเครื่องมือ ชนิดนี้ ทำงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์(Microvax 3400) ควบคุม การสั่งการการ เก็บบันทึก รวบรวม ข้อมูล สามารถ นำข้อมูลกลับมาแสดงใหม่จากเทปบันทึก ใน รูปแบบการทำงานของ IRIS (IRIS Software) ผ่าน Processor (RUP-6) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในเทป บันทึกข้อมูล ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ สามารถ นำมาใช้ได้ตลอด ซึ่งเชื่อมต่อกับ ระบบเรดาร์ การแสดงผล/ข้อมูล โดย จอภาพ (TV.monitor) ขนาด 20 นิ้ว สถานที่ตั้ง Doppler radar หรือที่เรียกว่า สถานีเรดาร์ฝนหลวงนี้อยู่ที่ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่


ด้วยความสำคัญและปริมาณความต้องการให้ ปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือทวีจำนวนมากขึ้น ฉะนั้นเพื่อให้งานปฏิบัติการฝนหลวงสามารถ ปฏิบัติการช่วยเหลือ เกษตรกรได้กว้างขวาง และได้ ผลดียิ่งขึ้น รัฐบาลจึงได้ตราพระราช กฤษฎีกาก่อตั้ง
สำนักงานปฏิบัติการ
ฝนหลวงขึ้นในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง เกษตรและ สหกรณ์ เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2518 เพื่อ เป็นหน่วยงานรองรับโครงการ พระราชดำริฝนหลวง ต่อไป
จากกรรมวิธีการทำฝนหลวงที่ใช้เป็นหลักอยู่ในปัจจุบัน คือการโปรยสารเคมีฝนหลวงจากเครื่องบิน เพื่อเร่งหรือเสริมการก่อตัว และการเจริญ เติบโตของเมฆ และการโจมตีกลุ่ม เป้าหมาย ที่ต้องการที่เคยปฏิบัติกันมา ตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบันนี้ นั้นใน บางครั้งก็ประสบปัญหาที่ไม่ สามารถ ปฏิบัติการตามขั้นตอนกรรมวิธีครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น ในขั้นโจมตีให้ฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมาย ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากฝนตก ปกคลุมสนามบิน เกิดลมพายุปั่นป่วน และรุนแรง เครื่องบิน ไม่สามารถบินขึ้นปฏิบัติการได้ ทำให้กลุ่มเมฆ เคลื่อนพ้นพื้นที่เป้าหมาย จากปัญหาต่างๆ เหล่านี้ จึงได้มีการวิจัยและทดลองกรรมวิธี การทำฝนเพื่อการ พัฒนาและก้าวหน้าบรรลุ เป้าหมายยิ่งขึ้นอีกระดับหนึ่ง อาทิเช่นการทำวิจัย สร้างจรวดบรรจุสารเคมียิงจากพื้นดินเข้าสู่ ก้อนเมฆ หรือยิงจากเครื่องบิน จึงได้มีการ
เริ่มวิจัยประดิษฐ์จรวดทำฝนร่วมกับ กรมสรรพาวุธทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2515-2516 จนก้าวหน้าถึง ระดับทดลองยิงในเบื้องต้นแล้ว แต่ต้องหยุดชะงักด้วยความ จำเป็นบางประการของ กรมสรรพาวุธทหารบกจนถึง
พ.ศ.2524 คณะกรรมการสภาวิจัย แห่งชาติได้แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาและ วิจัยจรวด ฝนเทียมขึ้นประกอบ ด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านจรวดของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ นักวิชาการ ของสภาวิจัยแห่งชาติ และนักวิชาการ ฝนหลวงซึ่ง ได้ทำการวิจัยประดิษฐ์และ พัฒนาจรวด ต้นแบบขึ้น ทำการทดลองยิงทดสอบก้าวหน้า มาตามลำดับ และถึงขั้นบรรจุสารเคมีเพื่อ ทดลองยิงเข้าสู่ก้อนเมฆจริงแล้วในปี พ.ศ. 2530 ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นทำการผลิต จรวดเชิงอุตสาหกรรมเพื่อทำการยิงทดลอง และตรวจสอบผลในเชิงปฏิบัติการต่อไป ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรง พระกรุณาพระราชทานแนวความคิดในการวิจัยชิ้นนี้
อาจกล่าวได้ว่าการวางแผนและกำหนดกรรมวิธี ในการทำฝนหลวงในขั้นตอนต่างๆนั้นได้ มาจากพระราชอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวในการ ประมวลและวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้ง การนำความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการดำเนินงานให้แต่ละ ขั้นตอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวิทยุสื่อสาร,ดาวเทียม หรือแม้แต่คอมพิวเตอร์ ก็ตามกล่าวคือพระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการ นำเทคโนโลยสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์แท้จริง
วีดีโอการทำฝนหลวงทางเครื่องบิน ของกองทัพไทย



ภาพการทำฝนหลวงทางจรวด ของรัฐบาลจีนเพื่อป้องกันฝนไปทำลายบรรยากาศโอลิมปิก 2008


และวีดีโอการยิงจรวดขฝนเทียมของประเทศจีนเพื่อป้องกันฝนมาทำลายพีธีเปิดโอลิมปิกปักกิ่ง 2008
http://v.youku.com/v_show/id_XNzE4MDU4OTY=.html
ที่มา
http://www.oknation.net/blog/keeluaey/2009/10/08/entry-1
http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=109&post_id=37481
http://school.obec.go.th/hangdong/king/main/na2.htm

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันชาติฟิลิปปินส์(Independent Day)12มิ.ย.

แผนที่ประเทศฟิลิปปินส์

จากความเป็นมาของประเทศนี้ที่เคยเป็นอาณานิคมของสเปนและอเมริกามา จนนักวิชาการมักจะกล่าวว่าฟิลิปปินส์เป็นเหมือนประเทศในกลุ่มละตินอเมริกาที่มาตั้งอยู่ในเอเชีย และคนของประเทศเขาบางทีก็รู้สึกว่าตัวเองเป็นฝรั่งมากกว่าเอเชีย


ทิวทัศน์ในฟิลิปปินส์

ทั้งที่จริงคนฟิลิปปินส์กับคนไทยโดยเฉพาะคนไทยนั้นหน้าคล้ายกันมาก ครั้งหนึ่งหยิบหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาษาอังกฤษมาอ่านฆ่าเวลาก็เจอบทความพูดถึงปัญหาเอกลักษณ์ของประเทศที่ดูเหมือนจะเอียงไปทางฝรั่งนับตั้งแต่ชื่อประเทศที่ตั้งตามกษัตริย์ฟิลลิปที่ 2 แห่งสเปน



จิ๊บนี่ คือ พาหนะ ในการเดินทางที่ดีที่สุด สะดวกที่สุด ถูกที่สุดในโลก ของฟิลิปปินสื


จนแทบจะลืมรากเหง้าของคนพื้นถิ่นพื้นเมือง
ผู้ใหญ่ฟิลิปปินส์ท่านหนึ่งก็เคยพูดถึงความคล้ายคลึงของหน้าตาคนไทยกับฟิลิปปินส์ว่า "We are from the same race." ซึ่งสอดคล้องกับนักประวัติศาสตร์รุ่นหลังๆ บางกลุ่มที่เห็นว่าคนเชื้อชาติไทยน่าจะมีความเป็นมาร่วมกับคนพื้นเมืองทางแถบอุษาคเนย์นี้เองแทนที่จะอพยพลงมาจากทางเหนืออย่างที่เคยเชื่อกันในยุคหนึ่ง


โดยจัดที่สนามLuneta Grand Standตรงข้ามRizal Parkของทุกปี
ฟิลิปปินส์ได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2489 แต่ฟิลิปปินส์กำหนดวันชาติคือ วันที่ 12 มิถุนายน เพื่อรำลึกถึงการประกาศเอกราชจากสเปนในวันที่ 12 มิถุนายน 2441






มีการจัดนิทรรศการของหน่วยงานรัฐจากทั่วประเทศ




เต้นรำทำเพลง(รำกระทบไม้)ตามแบบฉบับชาวตากะล็อก



หน้าตาไม่ต่างจากชาวไทยยังกะเกิดมาจากกอไผ่กอเดียวกัน


นักเรียนพร้อมให้ถ่ายรูป



กลุ่มหนุ่มน้อยในชุดลูกเสือก็พร้อมจะ"แอ้คอ้าด"ให้ถ่ายรูป




มีการสอนงานปั้นโดยอาจารย์ผู้รักงานศิลปะโดยไม่คิดมูลค่า



สามารถมาสรรค์สร้างงานศิลปะตามจินตนาการของตนได้




ด้านนอกมีงานจัดนิทรรศการจากทุกหน่วยงาน เช่น กาชาติ ตำรวจ ทหาร



แสดงผลงานของหน่วยงานตนอย่างคึกคักและบริการประชาชน






ภาพงานทหารที่มีส่วนช่วยชาติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน เช่นอุทกภัยและไต้ฝุ่น


ทีมา


ธงชาติฟิลิปปินส์


ชื่อธง Pambansang Watawat ("ธงชาติ")
การใช้ธงชาติ สัดส่วนธง 1:2
ประกาศใช้ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2441
ลักษณะ
ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบ่งตามยาว ครึ่งบนสีน้ำเงิน ครึ่งล่างสีแดง ที่ด้านคันธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว ภายในมีรูปดวงอาทิตย์มีรัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาวห้าแฉกสีทอง 3 ดวง
ออกแบบโดย เอเมลิโอ อากีนาลโด

ธงชาติฟิลิปปินส์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ตอนต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว ภายในมีรูปดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาวห้าแฉก 3 ดวง ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม รูปเหล่านี้เป็นสีทอง ส่วนทีเหลือของธงนั้นเป็นแถบแบ่งครึ่งตามด้านยาวของธง ครึ่งบนพื้นสีน้ำเงิน ครึ่งล่างพื้นสีแดง หากแถบทั้งสองสีนี้สลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่บน แถบสีน้ำเงินอยู่ตอนล่าง แสดงว่าประเทศฟิลิปปินส์อยู่ในภาวะสงคราม
ธงชาติฟิลิปปินส์แบบปัจจุบันได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2489 เมื่อเป็นอิสรภาพจากสหรัฐอเมริกา แต่การประกาศใช้ธงมีมาตั้งแต่เมื่อเป็นอิสรภาพจากสเปนใน พ.ศ. 2441 แต่ถูกอเมริกาเข้ายึดครองเกือบทันที ธงที่ประกาศใช้ปี พ.ศ. 2441 ได้ใช้เป็นธงชาติเมื่อ พ.ศ. 2450 และอีกช่วงคือ พ.ศ. 2464 จนถึงสมัยญี่ปุ่นยึดประเทศในปี พ.ศ. 2484


ความหมาย
จากเอกสารของทางราชการฟิลิปปินส์ ได้ระบุความหมายของสัญลักษณ์ในธงชาติไว้ว่า สามเหลี่ยมสีขาวเป็นเครื่องหมายแทนความเสมอภาคและภราดรภาพ พื้นสีน้ำเงินหมายถึงสันติภาพ สัจจะ และความยุติธรรม และพื้นสีแดงหมายถึงความรักชาติและความมีคุณค่า รูปดวงอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉกหมายถึงแปดจังหวัดแรกของประเทศ อันได้แก่ จังหวัดบาตังกาส, จังหวัดบูลาคัน, จังหวัดคาวิเต, จังหวัดลากูนา, จังหวัดมะนิลา, จังหวัดนูเอวา เอคิยา, จังหวัดปัมปังกา และจังหวัดตาร์ลัค ซึ่งพยายามเรียกร้องเอกราชจากสเปนและฝ่ายสเปนได้บังคับใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่เหล่านั้นเมื่อเริ่มเหตุการณ์การปฏิวัติฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2439[2] ดาวสามดวงหมายถึงหมายถึงการแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ เกาะลูซอน เกาะมินดาเนา และหมู่เกาะวิสายัน
อย่างไรก็ตาม ในคำประกาศเอกราชของฟิลิปปปินส์ พ.ศ. 2441 ได้นิยามความหมายของธงชาติต่างไปจากปัจจุบัน โดยระบุว่าสีขาวเป็นสัญลักษณ์แทนสมาคมคาติปูนัน (Katipunan) ซึ่งเป็นสมาคมลับที่ต่อต้านการปกครองของจักรวรรดินิยมสเปน สำหรับสีแดงและสีน้ำเงินกำหนดขึ้นจากสีของธงชาติสหรัฐอเมริกาเพื่อแสดงออกถึงความซาบซึ้งที่สหรัฐอเมริกาให้ความคุ้มครองชาวฟิลิปปินส์ในการต่อต้านสเปนในช่วงการปฏิวัติฟิลิปปินส์ ส่วนดาวสามดวงในธง ในคำประกาศเอกราชได้กล่าวว่าดาวดวงหนึ่งในสามดวงนั้นหมายถึงเกาะปานาย ไม่ใช่หมู่เกาะวิสายัน





ธงกางเขนเบอร์กันดี ใช้สมัยที่ฟิลิปปินส์เป็นส่วนหนึ่งของเขตอุปราชแห่งนิวสเปน ตั้งแต่ พ.ศ. 2078 - 2364



ธงชาติสเปน ใช้ในสมัยที่สเปนเข้าปกครองหมู่เกาะอินเดียตะวันออก (พ.ศ. 2364 - 2441)





ธงชาติฟิลิปปินส์แบบแรกสุด ออกแบบตามแนวคิดของเอเมลิโอ อากีนาลโด ใช้ในปี พ.ศ. 2441 - 2444





ธงชาติสหรัฐอเมริกา (ดาว 45 ดวง) ใช้ในสมัยที่ตกเป็นอาณานิคมของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2444 - 2451)

ธงชาติสหรัฐอเมริกา (ดาว 46 ดวง) ใช้ในสมัยที่ตกเป็นอาณานิคมของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2451 - 2462)


ธงชาติฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2462 - 2524 โทนสีน้ำเงินเป็นสีเนวีบลู (Navy Blue) ตามสีธงชาติสหรัฐฯ



ธงชาติฟิลิปปินส์สมัยสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 2 (พ.ศ. 2486 - 2487)





ธงชาติฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2524 - 2529 สีน้ำเงินในธงเปลี่ยนระดับลงมาเป็นสีฟ้า




ธงชาติฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2529 - 2541 โทนสีน้ำเงินเป็นสีเนวีบลู (Navy Blue)



ธงชาติฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน โทนสีน้ำเงินเป็นสีรอยัลบลู (Royal Blue)

Lupang Hinirang เพลงชาติฟิลิปปินส์

หนุ่มสาวชาวปินส์ไส่ชุดบารอง(Barong)หรือชุดประจำชาติฟิลิปปินส์

เพลงชาติฟิลิปปินส์มีชื่อว่า ลูปังฮินิรัง (Lupang Hinirang) ทำนองประพันธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2441/ค.ศ.1898 โดย จูเลียน เฟลิเป (Julian Felipe) ส่วนเนื้อร้องนั้นปรับมาจากบทกวีภาษาสเปนชื่อ "ฟิลิปปินัส" (Filipinas) ของกวีและทหารหนุ่มชื่อ โฆเซ ปาลมา (Jose Palma) ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2442/ค.ศ.1899 เดิมทีแล้วเพลงลูปังฮินิรังเป็นเพลงที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาใช้ในฐานะเพลงชาติในช่วงที่ฟิลิปปินส์เป็นอิสระจากสเปนในระยะเวลาสั้นๆ โดยไม่มีเนื้อร้อง

พร้อมใจกันร้องเพลงชาติอย่างพร้อมเพรียงกัน

ต่อมาเมื่อสหรัฐอเมริกาเข้าครอบครองฟิลิปปินส์ต่อจากสเปน รัฐบาลอาณานิคมของสหรัฐฯ ได้ออกกฎหมายเรื่องธงสั่งห้ามบรรเลงเพลงนี้ กระทั่งถึงปี พ.ศ. 2461/ค.ศ.1918 กฎหมายดังกล่าวจึงถูกยกเลิก เพลงนี้จึงได้รับการแปลเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษ และได้รับรองจากกฎหมายให้ใช้ได้อย่างเป็นทางการในชื่อ "Philippine Hymn" (เพลงสรรเสริญฟิลิปปินส์)



พร้อมใจกันร้องเพลงชาติอย่างพร้อมเพรียงกัน

ต่อมาเนื้อเพลงลูปังหิรินังก็ได้รับการแปลจากภาษาสเปนเป็น


ภาษาฟิลิปิโนในปี พ.ศ. 2491/ค.ศ.1948 และเสร็จสมบูรณ์ใน


ปี พ.ศ. 2505/ค.ศ.1962 เนื้อร้องดังกล่าวนี้คือเนื้อร้องของเพลงชาติฟิลิปปินส์ใน ปัจจุบันนี้เอง

เรื่องราวโดยละเอียดกว่านี้รวมทั้งเนื้อเพลงเชิญอ่านได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Lupang_Hinirang หรือที่ http://th.wikipedia.org/wiki/เพลงชาติฟิลิปปินส์ ส่วนในที่นี้ขอนำเสนอเฉพาะคลิปทำนองเพลงเช่นเคยครับ




วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

วันเมษาฯ หน้าโง่ หรือ Aril’s Fool Day

วันโกหก มีชื่อเรียกว่า วันเมษาฯ หน้าโง่ หรือ Aril’s Fool Day ประวัติของวันๆนี้ เริ่มต้นที่ประเทศฝรั่งเศส ในยุคศตวรรษที่ 16 ตอนนั้นชาวฝรั่งเศสมีวันปีใหม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน กระทั่งมาถึง ค.ศ.1562 โป๊ป เกรกอรี จึงกำหนดให้ชาวคริสต์ทั่วโลกฉลองวันปีใหม่พร้อมกันวันที่ 1 มกราคม คราวนี้สมัยก่อน ข่าวสารไม่ได้กระจายรวดเร็วเหมือนสมัยนี้ คนบ้านนอกของฝรั่งเศสบางกลุ่มยังไม่รู้ แถมบางคนได้ยินแล้วก็ยังไม่เชื่อ เลยฉลองวันปีใหม่กันวันที่ 1 เมษาฯเหมือนเดิม ทำให้พวกไม่ตกยุคเย้ยหยันพวกตกยุคว่า “หน้าโง่” แถมยังพยายามจะแกล้งหลอกคนกลุ่มนี้เพื่อความสนุกสนานอีกด้วย วันที่ 1 เมษาฯ ก็เลยกลายเป็นวันที่คนแกล้งหลอกกันด้วยการแต่งเรื่องอะไรก็ไดมาหลอกให้คนอื่นหลงเชื่อ จากนั้นค่อยเฉลยในตอนท้าย ซึ่งเรื่องที่เอามาหลอกนั้นจะต้องไม่ทำให้อีกฝ่ายถึงกับเลือดตกยางออก และคนที่ถูกหลอกจะต้องไม่โกรธด้วย เพราะถือว่า วันนี้เป็นวันพิเศษ ยกเว้นให้หนึ่งวัน




วันที่ 1 เมษาฯ ก็เลยกลายเป็นวันที่คนแกล้งหลอกกันด้วยการแต่งเรื่องอะไรก็ไดมาหลอกให้คน อื่นหลงเชื่อ จากนั้นค่อยเฉลยในตอนท้าย ซึ่งเรื่องที่เอามาหลอกนั้นจะต้องไม่ทำให้อีกฝ่ายถึงกับเลือดตกยางออก และคนที่ถูกหลอกจะต้องไม่โกรธด้วย เพราะถือว่า วันนี้เป็นวันพิเศษ ยกเว้นให้หนึ่งวันวันโกหก เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ทั้งในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส สกอตแลนด์ อิตาลี สเปน โปรตุเกส สวีเดน เยอรมนี นอร์เวย์ รวมถึงญี่ปุ่นด้วย ในวันนี้คุณสามารถหลอกอะไรคนรอบตัวก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น นี่คุณ.. เมื่อกี้ที่บ้านโทรมาบอกว่าบ้านไฟไหม้, คุณ... กระทรวงแรงงานบอกว่าต้องขึ้นเงินเดือนนี่, อ้าว คุณ.. รถคุณถูกขโมยไปโน่นน่ะ ฯลฯ และถ้าคนที่ถูกหลอกเชื่อ เขาก็จะให้ผู้ที่โกหกนั้น ตะโกนดังๆ ว่า “April Fool”แต่ถ้าคนที่ถูกหลอกรู้ทัน ก็สามารถตะโกนกลับมาว่า “April Fool”



ได้เช่นกันวันโกหกไม่จำเป็นต้องจัดในวันที่ 1 เมษายนเท่านั้น ในประเทศเม็กซิโก และสเปน จัดวันนี้ในวันที่ 28 ธันวาคม และเรียกมันว่าวัน Holy Innocents ในวันนี้ต้องระวังให้ดี เพราะมีธรรมเนียมที่ว่าถ้ามีการให้ยืมเงิน จะไม่ได้คืนแน่ๆส่วนในประเทศเยอรมนี และนอร์เวย์ จัดวันโกหกสองครั้งคือ 1 เมษายน และ30 เมษายน
เรามาดูเหตุการโกหกของฝรั่งเขาดู



ในปี 1990 ที่อังกฤษ สถานีวิทยุ Kiss FM ออกอากาศว่าดวงจันทร์จะชนโลก



ในปี 2005 สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ที่ Estonia ได้ออกอากาศว่ามีวิธีที่ทำให้ทาง สถานีรู้ว่า ณ ขณะนี้มีผู้ชมอยู่หน้าจอทั้งหมดกี่คน และยังบอกให้ผู้ชมนั้นใส่เหรียญไปที่หน้าจอโทรทัศน์เพื่อที่จะชมรายการทีวี ต่อ



ในปี 2005 อีกเหมือนกันทางองค์การ NASA ได้พาดหัวที่หน้า website ของ ตัวเองว่าได้พบน้ำบนดาวอังคาร ซึ่งเมื่อคลิกเข้าไปก็พบภาพแก้วน้ำ วางอยู่บนขนมยี่ห้อ Mars



ในปี 2007 สำหรับผู้ให้บริการฟรีอีเมลล์รายใหญ่ GMail ประกาศให้บริการ GMail Paper บริการสำรองข้อมูลอีเมลล์ลงบนกระดาษและปีที่แล้ว................



ในปี 2008 ก็ยังมีการเล่นกันต่อเรามาดูว่ามีข่าวหลอกๆอะไรที่น่าสนใจบ้าง



- Pizza Hut เปลี่ยนเป็น Pasta Hut ในโฮมเพจของ Pizzahut.com



- BMW ประกาศเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ป้องกันสุนัขฉี่ใส่รถ โดยการ



ปล่อยกระแสไฟฟ้าตอบกลับเพื่อช๊อคเจ้าตูบที่กำลังปลดทุกข์อยู่



- Google Australia เปิดให้บริการใหม่ GDay ซึ่งสามารถค้นหา



เวปไซต์ที่ยังไม่สร้างล่วงหน้าได้หนึ่งวัน
เหล่านี้ก็เป็นอะไรที่แม้กระทั่งคนไทยก็เล่นกับเค้าด้วย ที่เจอมากับตัวเองก็คือ ICT จะปิดให้บริการเวป Google และ Hi5 ถึงแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่กลายเป็นวัฒนธรรมกันไปแล้ว สำหรับการกุเรื่องโกหกใน วันที่หนึ่งเมษายน แต่บางครั้งถ้าเกิดมีเหตุการ์ณจริงขึ้นมา แล้วการประกาศข่าวไม่ได้ผล เหมือนนิทานเรื่องเด็กเลี้ยงแกะ ก็ไม่รู้ว่าสื่อต่างๆเหล่านี้จะรับผิดชอบกันยังไง...................เหมือนกับข่าวไวรัสซื่งเป็นเรื่องจริงแต่สื่อเพิ่งนำออกมานำเสนอในวันนี้และผมก็เคยเจอมันมาแล้วด้วย และคิดว่าควรจะช่วยกระจายข่าวให้เพื่อนสมาชิกทราบน่ะ กลายเป็นผมช่วยกระจายข่าววันโกหกไปเสียอีกได้..............
อันนี้เป็นคำคมที่พูดถึงคนประเภท Fool ที่นำมาให้อ่านเล่นๆ จ้า


- มันจะดีกว่าถ้าคุณจะเงียบไว้ และถูกคนด่าว่าเป็นคนโง่ ดีกว่าพูดจนหมด แล้วทำให้คนรู้ทุกความคิดของคุณ [มาร์ค ทเวน ผู้เขียนเรื่องทอมกับฮัค ผจญภัย]
- อย่าพูดก่อนที่จะคิดอย่างดีแล้ว ไม่งั้นคุณอาจจะกลายเป็นคนโง่ได้ [Thomas Reed] - คนที่ไม่ยอมรับความโง่ของตัวเอง ไม่ใช่คนฉลาดนักหรอก [Duc de La Rochefoucauld] - บางครั้ง คนก็ชอบความโง่มากกว่าความฉลาด [Elizabeth Gaskell]