วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันพ่อทั่วโลก

วันพ่อแห่งชาติ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันพ่อแห่งชาติ เป็นวันสำคัญสัมพันธ์กับวันแม่แห่งชาติ ในการฉลองความเป็นพ่อและบุคคลที่นับถือในการเป็นพ่อ โดยจึงกำหนดเป็นวันหยุดวันพ่อแห่งชาตินั้นทั่วโลกจะมีการจัดแตกต่างกันไป โดยในประเทศไทยจัดตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี โดยในกว่า 50 ประเทศจะจัดวันอาทิตย์ที่สามของเดือนมิถุนายน
จอห์น บี. ดอดด์ ชาวอเมริกันเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดของวันพ่อแห่งชาติ โดยเริ่มต้นที่เมืองแฟร์มอนต์ รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 ในโบสถ์แห่งหนึ่งในแฟร์มอนต์


วันพ่อของทุกมุมโลก
6 มกราคม เซียเบีย("Paterice")*
23 กุมภาพันธ์ รัสเซีย (Defender of the Fatherland Day)*
19 มีนาคม แอนโดรา โบลิเวีย ฮอนดูลัส อิตาลี มาเก๊า โปรตุเกส สเปน
อาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม โรมาเนีย
8 พฤษภาคม เกาหลีใต้(Parents' Day)
อาทิตย์ที่สามของเดือนพฤษภาคม ตองกา
Ascension Day เยอร์มัน
อาทิตย์ที่หนึ่งของเดือนมิถุนายน ลิทิวเนีย
5 มิถุนายน (Constitution Day) เดนมาร์ค
อาทิตย์ที่สองของเดือนมิถุนายน ออสเตรีย แบงกาเรีย
อาทิตย์ที่สามของเดือนมิถุนายน แอนทิกัว อาเจนตินา บาฮามาส แคนนาดา จีน โคลัมเบีย
คอสตาลิกา เช็ค ฝรั่งเศส กานา กรีก
แฮงการี ไอร์แลนด์ จาไมก้า ญี่ป่น มาเลเซีย มาลี แม็กซีโก
เมียนม่าร์ ฮอลเลนส์ ปากีสถาน ปานามา เปรู ฟิลปปินส์ สิงค์โปร์ สโลวาเกีย แอฟฟิก้าใต้
ศรีลังกา สวิสเซอร์แลนด์ ตุรกี ยูเครน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เวนาซูอาลา ซิมบัสวา
17 มิถุนายน เอ สวาดอร์ กัวเตมาลา
21 มิถุนายน อียิบป์ เลบานอน จอร์เดน ซีเลีย อูเกนดา
23 มิถุนายน นิคารากัว โปร์แลนด์
อาทิตย์สุดท้ายของเดือนมิถุนายน เฮติ
อาทิตย์ที่สองของเดือนกรกฏาคม ยูเกนดา
อาทิตย์สุดท้ายของเดือนกรกฏาคม โดนิมิกัน
อาทิตย์ที่สองของเดือนสิงหาคม บราซิล ไต้หวัน
อาทิตย์แรกของเดือนกันยายน ออสเตรีย ฟิจิ นิวซีแลนด์ ปาปูนิวกีนี
วัน Kushe Aunshi – Bwaako Mukh Herne Din बुवाको मुख हेर्ने दिन (कुशे औंशी) เนปาล
อาทิตย์ที่แรกของเดือนตุลาคม ลักแซมเบริก อาทิตย์ที่สองของเดือนพฤศจิกายน แอสโตเนีย ฟินแลนด์ Iไอซ์แลนด์ นอร์แวย์ สวีเดน
5 ธันวาคม ไทย
26ธันวาคม แบงกาเรีย

ปฏิทินอิสลามIslam calendar Definition Sample datesCountry

วันที่ 13 Rajab อิเหรน ปากีสถาน

วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (วันพ่อแห่งชาติ)

ที่มา : หนังสือวันสำคัญ โครงการปีรณรงค์วัฒนธรรมไทยและแนวทางในการจัดกิจกรรมโดย : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการรวบรวมโดย : สถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก







ความหมาย
วันที่ระลึกคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ พระผู้ทรงกอปด้วยพระวิริยะอุตสาหะ บำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานับประการ อันเป็นคุณประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติ ด้วยพระราชประสงค์ที่จะให้ประชาชนทุกหมู่เหล่า ไม่เลือกชาติ ศาสนา ที่อยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารและประเทศชาติ มีความผาสุข และเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น ตามที่ได้มีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งประชาชนชาวสยาม”




ความหมาย
วันที่ระลึกคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ พระผู้ทรงกอปด้วยพระวิริยะอุตสาหะ บำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานับประการ อันเป็นคุณประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติ ด้วยพระราชประสงค์ที่จะให้ประชาชนทุกหมู่เหล่า ไม่เลือกชาติ ศาสนา ที่อยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารและประเทศชาติ มีความผาสุข และเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น ตามที่ได้มีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งประชาชนชาวสยาม”
ความเป็นมา
พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาคือพระราชพิธีคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชดำริจัดมีขึ้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ว่า
“การทำบุญวันเกิดทุก ๆ ปีในเมื่อบรรจบรอบตามทางสุริยคติกาล เช่นทำกันอยู่ทุกวันนี้เกิดขึ้น โดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทำเป็นต้นเดิมมาแต่ยังทรงผนวชใช่ว่าจะตามอย่างจีนหรือฝรั่ง ด้วยทรงพระราชดำริเห็นว่าการซึ่งมีอายุมาถึงบรรจบครบรอบปีไม่ตายไปเสียก่อนเป็นลาภอันอุดมอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ควรยินดี เมื่อผู้มารู้สึกยินดีเช่นนั้นก็ควรจะบำเพ็ญกุศลซึ่งเป็นประโยชน์ตนและผู้อื่น สมกับที่มีน้ำใจยินดี และควรที่จะทำใจให้เป็นที่ตั้งแห่งความไม่ประมาท ด้วยไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่า จะอยู่ไปบรรจบรอบปีเช่นนี้อีกหรือไม่ ควรที่จะบำเพ็ญการกุศลและประพฤติหันหาสุจริตธรรม วันเกิดปีหนึ่งเป็นเครื่องเตือนใจครั้งหนึ่ง ให้รู้สึกว่าอายุล่วงไปใกล้ต่อมรณะอีกก้าวอีกขั้นหนึ่ง เมื่อรู้สึกมีเครื่องเตือนเช่นนี้ ก็จะได้บรรเทาความเมาในชีวิต ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นตัวอกุศลธรรมนั้นเสีย...”
ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันเฉลิมพระชนมพรรษาตั้งแต่ยังทรงผนวชอยู่นั้น มีแต่สวดมนต์เลี้ยงพระ ๑๐ รูป เมื่อเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้วก็ยังทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเพียงเจริญพระพุทธมนต์และเลี้ยงพระเหมือนครั้งทรงผนวช เพิ่งจะทรงทำเป็นพิธีใหญ่เมื่อเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา เป็นงาน ๓ วัน มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ที่ท้องพระโรง ๖๐ รูปเท่าพระชนมายุ ให้เจ้านายและข้าราชการทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระทุกวังทุกบ้าน เสด็จออกพระที่นั่งอนันตสมาคมคล้ายออกแขกเมือง เจ้านายและขุนนางอ่านคำถวายพระพรชัยมงคล แล้วพระราชทานเหรียญทองคำตรามงกุฎแก่ข้าราชการ มีเทศนา ๕ กัณฑ์ และสรงมุรธาภิเษก
รัชกาลต่อ ๆ มาได้ถือเป็นราชประเพณีแต่ได้เปลี่ยนแปลงตามกาลสมัยของแต่ละรัชกาล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาได้กำหนดดังนี้
เสด็จออกมหาสมาคม
วันที่ ๕ ธันวาคม เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตไปยังพระบรมมหาราชวัง เสด็จฯเข้าสู่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนถวยสักการะพระสยามเทวาธิราช แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยทางพระทวารเทวราชมเหศวร์(ในรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน เจ้าจอม หม่อมห้าม ข้าราชการท้าวนางและสตรีผู้มีบรรดาศักดิ์เฝ้าฯ ถวายพระพรในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ เมื่อเสด็จออกรับคำถวายพระพรของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าและข้าราชการในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยแล้วจึงเสด็จเจ้ารับคำถวายพระพรของฝ่ายใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนราชประเพณีให้ฝ่ายในทั้งหมดมีตำแหน่งเฝ้าฯ ร่วมกับฝ่ายหน้า) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์บนพระราชบัลลังก์ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ที่โต๊ะเคียงด้านขวาทอดพระมหาพิชัยมงกุฎและพานทองคำลงยาวางแผ่นกระดาษพระราชดำรัส ที่ด้านซ้ายทอดพานพระขันหมากและพระสุพรรณศรีทอดพระสุพรรณราชที่ฐานเขียงพระแท่น
ราชบัลลังก์ ตั้งต้นไม้ทอง - เงิน สี่มุมพระราชบัลลังก์หลังพระราชบัลลังก์พนักงานเครื่องสูงถวายอยู่งานพัดโบกคู่หนึ่ง มีมหาดเล็กเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์คือ พระมาลาและพระคทาจอมทัพ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร พระแส้หางช้างเผือก พัดวาลวิชนีเข้าริ้วยืนเฝ้าฯ ตามตำแหน่ง
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์เฝ้าฯ ณ เบื้องซ้ายพระราชบัลลังก์นายทหารรักษาพระองค์ทุกเหล่าและราชองครักษ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ในราชสำนักเฝ้าฯ เบื้องขวาพระราชบัลลังก์ เมื่อพร้อมแล้วเลขาธิการพระราชวังถวายความเคารพขอพระบรมราชานุญาตให้มหาดเล็กรัวกรับให้สัญญาณชาวม่านไขเปิดพระวิสูตร ตำรวจหลวงชูพุ่มให้สัญญาณถวายความเคารพ พนักงานกระทั่งแตรมโหระทึกทหารกองเกียรติยศที่ตั้งอยู่หน้าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทหารบก (ยิงที่ท้องสนามหลวง) ทหารเรือ (เรือรบหลวงยิงที่หน้าท่าราชวรดิษฐ์) ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติฝ่ายละ ๒๑ นัด พระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ข้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายความเคารพ ครั้นสุดเสียงประโคมแล้วพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์สยามมกุฎราชกุมารบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลแทนพระบรมวงศานุวงศ์ นายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลแทนคณะรัฐมนตรี ประธานรัฐสภากราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบ จบแล้ว มหาดเล็กรัวกรับ ตำรวจหลวงชูพุ่มดอกไม้ทอง ชาวม่านไขปิดพระวิสูตร ทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ชาวพนักงานประโคมเช่นเวลาเสด็จออก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงจากพระแท่นราชบัลลังก์นพปฎลมหาเศวตฉัตร แล้วเสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาลทักษิณทางพระทวารเทวราชมเหศวร์พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินนี




งานพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคม แต่งกายเครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายมหาจักรี สายสร้อยจุลจอมเกล้า
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเฉลิมพระชนมพรรษา
บ่ายวันที่ ๕ ธันวาคม เจ้าพนักงานตกแต่งพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยเป็นที่ประกอบพิธีสงฆ์ที่พระแท่นราชบัลลังก์นพปฏลมหาเศวตฉัตรเชิญ พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์รัชกาลปัจจุบันขึ้นประดิษฐานบนโต๊ะหมู่ ตั้งพระกรัณฑ์ทองคำลงยาบรรจุพระสุพรรณบัฏพระดวงพระบรมราชสมภพมีพานทองคำลงยารองรับคลุมด้วยปักดิ้นทอง ทอดพระมหาสังข์ทักษิณาวัฎ และครอบพระกริ่งสำหรับทำน้ำพระพุทธมนต์ถวายสรง บนฐานเขียงพระแท่นราชบัลลังก์ด้านหน้าตั้งเชิงเทียนปักเทียนพระมหามงคลคู่ ๑ (เทียนพระมหามงคล ขี้ผึ้งหนัก ๘ บาท หมายถึงมงคล ๘ ประการ ไส้ ๓๒ เส้น สูงเท่ากับความยาวของรอบพระเศียร) ข้างซ้ายตั้งเทวรูปชื่อพระราชมุทธาธรเชิญหีบพระราชลัญจกร ข้างขวาตั้งเทวรูปชื่อพระราชบันฦาธารเชิญพระแสงพระราชพิธี สี่มุมพระแท่นราชบัลลังก์ตั้งต้นไม้ทอง - เงิน และตั้งพานพุ่มดอกไม้แจกัน ดอกไม้รอบฐานพระแท่น
ด้านข้างขวาพระแท่นราชบัลลังก์นพปฎลมหาเศวตฉัตร ตั้งตู้เทียนเท่าพระองค์ (เทียนเท่าพระองค์ ขี้ผึ้งหนักเท่าพระชนมายุ ไส้ ๓๒ เส้น สูงเท่าพระองค์) ยอดตู้ทรงมงกุฎและตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระพุทธรูปเทวรูปนพเคราะห์องค์เสวยพร้อมด้วยดอกไม้สี ธูปเทียนตามกำลังของเทวรูปนพเคราะห์องค์แทรก พร้อมด้วยดอกไม้สี ธูปเทียนตามกำลังของเทวรูป
หน้าพระแท่นราชบัลลังก์นพปฏลมหาเศวตฉัตรทอดเครื่องนมัสการพานทองสองชั้นและเครื่องนมัสการลงยารองพร้อมที่ทรงกราบ ทอดพระราชอาสน์และเครื่องราชูปโภคตั้งอาสนสงฆ์สำหรับพระสงฆ์ที่จะรับพระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์ และที่จะเจริญพระพุทธมนต์ ตั้งโต๊ะปูผ้าขาววางผ้าไตร พัดยศ และเครื่อง
ยศสมณศักดิ์ พร้อมทั้งตั้งเก้าอี้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทุกฝ่ายเฝ้าฯ
ส่วนที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่ชานหน้าพระอุโบสถตั้งโต๊ะปูผ้าขาวสำหรับบรรพชิตญวนและจีนวางเครื่องดอกไม้เงิน – ทองในการถวายพระพร
ภายในพระอุโบสถที่ข้างธรรมาสน์ศิลาตั้งตู้เทียนเท่าพระองค์คู่ ๑ บนธรรมาสน์ศิลาตั้งเทียนพระมหามงคลคู่ ๑ หน้าธรรมาสน์ศิลาทอดเครื่องนมัสการทองใหญ่และเครื่องนมัสการทองทิศพร้อมที่ทรงกราบแนวผนังด้านเหนือตั้งอาสนสงฆ์สำหรับพระสงฆ์ ๕ รูป สวดนวัคคหายุสมธัมม์(เป็นประเพณีมาแต่รัชกาลที่ ๔ กำหนดให้เป็นหน้าที่พระสงฆ์วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม สวดนวัคคหายุสมธัมม์) หน้าความเป็นมา
พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาคือพระราชพิธีคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชดำริจัดมีขึ้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ว่า
“การทำบุญวันเกิดทุก ๆ ปีในเมื่อบรรจบรอบตามทางสุริยคติกาล เช่นทำกันอยู่ทุกวันนี้เกิดขึ้น โดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทำเป็นต้นเดิมมาแต่ยังทรงผนวชใช่ว่าจะตามอย่างจีนหรือฝรั่ง ด้วยทรงพระราชดำริเห็นว่าการซึ่งมีอายุมาถึงบรรจบครบรอบปีไม่ตายไปเสียก่อนเป็นลาภอันอุดมอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ควรยินดี เมื่อผู้มารู้สึกยินดีเช่นนั้นก็ควรจะบำเพ็ญกุศลซึ่งเป็นประโยชน์ตนและผู้อื่น สมกับที่มีน้ำใจยินดี และควรที่จะทำใจให้เป็นที่ตั้งแห่งความไม่ประมาท ด้วยไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่า จะอยู่ไปบรรจบรอบปีเช่นนี้อีกหรือไม่ ควรที่จะบำเพ็ญการกุศลและประพฤติหันหาสุจริตธรรม วันเกิดปีหนึ่งเป็นเครื่องเตือนใจครั้งหนึ่ง ให้รู้สึกว่าอายุล่วงไปใกล้ต่อมรณะอีกก้าวอีกขั้นหนึ่ง เมื่อรู้สึกมีเครื่องเตือนเช่นนี้ ก็จะได้บรรเทาความเมาในชีวิต ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นตัวอกุศลธรรมนั้นเสีย...”
ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันเฉลิมพระชนมพรรษาตั้งแต่ยังทรงผนวชอยู่นั้น มีแต่สวดมนต์เลี้ยงพระ ๑๐ รูป เมื่อเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้วก็ยังทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเพียงเจริญพระพุทธมนต์และเลี้ยงพระเหมือนครั้งทรงผนวช เพิ่งจะทรงทำเป็นพิธีใหญ่เมื่อเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา เป็นงาน ๓ วัน มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ที่ท้องพระโรง ๖๐ รูปเท่าพระชนมายุ ให้เจ้านายและข้าราชการทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระทุกวังทุกบ้าน เสด็จออกพระที่นั่งอนันตสมาคมคล้ายออกแขกเมือง เจ้านายและขุนนางอ่านคำถวายพระพรชัยมงคล แล้วพระราชทานเหรียญทองคำตรามงกุฎแก่ข้าราชการ มีเทศนา ๕ กัณฑ์ และสรงมุรธาภิเษก
รัชกาลต่อ ๆ มาได้ถือเป็นราชประเพณีแต่ได้เปลี่ยนแปลงตามกาลสมัยของแต่ละรัชกาล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาได้กำหนดดังนี้


เสด็จออกมหาสมาคม
วันที่ ๕ ธันวาคม เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตไปยังพระบรมมหาราชวัง เสด็จฯเข้าสู่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนถวยสักการะพระสยามเทวาธิราช แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยทางพระทวารเทวราชมเหศวร์(ในรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน เจ้าจอม หม่อมห้าม ข้าราชการท้าวนางและสตรีผู้มีบรรดาศักดิ์เฝ้าฯ ถวายพระพรในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ เมื่อเสด็จออกรับคำถวายพระพรของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าและข้าราชการในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยแล้วจึงเสด็จเจ้ารับคำถวายพระพรของฝ่ายใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนราชประเพณีให้ฝ่ายในทั้งหมดมีตำแหน่งเฝ้าฯ ร่วมกับฝ่ายหน้า) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์บนพระราชบัลลังก์ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ที่โต๊ะเคียงด้านขวาทอดพระมหาพิชัยมงกุฎและพานทองคำลงยาวางแผ่นกระดาษพระราชดำรัส ที่ด้านซ้ายทอดพานพระขันหมากและพระสุพรรณศรีทอดพระสุพรรณราชที่ฐานเขียงพระแท่นราชบัลลังก์ ตั้งต้นไม้ทอง - เงิน สี่มุมพระราชบัลลังก์หลังพระราชบัลลังก์พนักงานเครื่องสูงถวายอยู่งานพัดโบกคู่หนึ่ง มีมหาดเล็กเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์คือ พระมาลาและพระคทาจอมทัพ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร พระแส้หางช้างเผือก พัดวาลวิชนีเข้าริ้วยืนเฝ้าฯ ตามตำแหน่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์เฝ้าฯ ณ เบื้องซ้ายพระราชบัลลังก์นายทหารรักษาพระองค์ทุกเหล่าและราชองครักษ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ในราชสำนักเฝ้าฯ เบื้องขวาพระราชบัลลังก์ เมื่อพร้อมแล้วเลขาธิการพระราชวังถวายความเคารพขอพระบรมราชานุญาตให้มหาดเล็กรัวกรับให้สัญญาณชาวม่านไขเปิดพระวิสูตร ตำรวจหลวงชูพุ่มให้สัญญาณถวายความเคารพ พนักงานกระทั่งแตรมโหระทึกทหารกองเกียรติยศที่ตั้งอยู่หน้าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทหารบก (ยิงที่ท้องสนามหลวง) ทหารเรือ (เรือรบหลวงยิงที่หน้าท่าราชวรดิษฐ์) ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติฝ่ายละ ๒๑ นัด พระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ข้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายความเคารพ ครั้นสุดเสียงประโคมแล้วพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์สยามมกุฎราชกุมารบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลแทนพระบรมวงศานุวงศ์ นายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลแทนคณะรัฐมนตรี ประธานรัฐสภากราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบ จบแล้ว มหาดเล็กรัวกรับ ตำรวจหลวงชูพุ่มดอกไม้ทอง ชาวม่านไขปิดพระวิสูตร ทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ชาวพนักงานประโคมเช่นเวลาเสด็จออก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงจากพระแท่นราชบัลลังก์นพปฎลมหาเศวตฉัตร แล้วเสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาลทักษิณทางพระทวารเทวราชมเหศวร์พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินนี


งานพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคม แต่งกายเครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายมหาจักรี สายสร้อยจุลจอมเกล้า



พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเฉลิมพระชนมพรรษา
บ่ายวันที่ ๕ ธันวาคม เจ้าพนักงานตกแต่งพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยเป็นที่ประกอบพิธีสงฆ์ที่พระแท่นราชบัลลังก์นพปฏลมหาเศวตฉัตรเชิญ พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์รัชกาลปัจจุบันขึ้นประดิษฐานบนโต๊ะหมู่ ตั้งพระกรัณฑ์ทองคำลงยาบรรจุพระสุพรรณบัฏพระดวงพระบรมราชสมภพมีพานทองคำลงยารองรับคลุมด้วยปักดิ้นทอง ทอดพระมหาสังข์ทักษิณาวัฎ และครอบพระกริ่งสำหรับทำน้ำพระพุทธมนต์ถวายสรง บนฐานเขียงพระแท่นราชบัลลังก์ด้านหน้าตั้งเชิงเทียนปักเทียนพระมหามงคลคู่ ๑ (เทียนพระมหามงคล ขี้ผึ้งหนัก ๘ บาท หมายถึงมงคล ๘ ประการ ไส้ ๓๒ เส้น สูงเท่ากับความยาวของรอบพระเศียร) ข้างซ้ายตั้งเทวรูปชื่อพระราชมุทธาธรเชิญหีบพระราชลัญจกร ข้างขวาตั้งเทวรูปชื่อพระราชบันฦาธารเชิญพระแสงพระราชพิธี สี่มุมพระแท่นราชบัลลังก์ตั้งต้นไม้ทอง - เงิน และตั้งพานพุ่มดอกไม้แจกัน ดอกไม้รอบฐานพระแท่น
ด้านข้างขวาพระแท่นราชบัลลังก์นพปฎลมหาเศวตฉัตร ตั้งตู้เทียนเท่าพระองค์ (เทียนเท่าพระองค์ ขี้ผึ้งหนักเท่าพระชนมายุ ไส้ ๓๒ เส้น สูงเท่าพระองค์) ยอดตู้ทรงมงกุฎและตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระพุทธรูปเทวรูปนพเคราะห์องค์เสวยพร้อมด้วยดอกไม้สี ธูปเทียนตามกำลังของเทวรูปนพเคราะห์องค์แทรก พร้อมด้วยดอกไม้สี ธูปเทียนตามกำลังของเทวรูป
หน้าพระแท่นราชบัลลังก์นพปฏลมหาเศวตฉัตรทอดเครื่องนมัสการพานทองสองชั้นและเครื่องนมัสการลงยารองพร้อมที่ทรงกราบ ทอดพระราชอาสน์และเครื่องราชูปโภคตั้งอาสนสงฆ์สำหรับพระสงฆ์ที่จะรับพระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์ และที่จะเจริญพระพุทธมนต์ ตั้งโต๊ะปูผ้าขาววางผ้าไตร พัดยศ และเครื่อง
ยศสมณศักดิ์ พร้อมทั้งตั้งเก้าอี้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทุกฝ่ายเฝ้าฯ
ส่วนที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่ชานหน้าพระอุโบสถตั้งโต๊ะปูผ้าขาวสำหรับบรรพชิตญวนและจีนวางเครื่องดอกไม้เงิน – ทองในการถวายพระพร
ภายในพระอุโบสถที่ข้างธรรมาสน์ศิลาตั้งตู้เทียนเท่าพระองค์คู่ ๑ บนธรรมาสน์ศิลาตั้งเทียนพระมหามงคลคู่ ๑ หน้าธรรมาสน์ศิลาทอดเครื่องนมัสการทองใหญ่และเครื่องนมัสการทองทิศพร้อมที่ทรงกราบแนวผนังด้านเหนือตั้งอาสนสงฆ์สำหรับพระสงฆ์ ๕ รูป สวดนวัคคหายุสมธัมม์(เป็นประเพณีมาแต่รัชกาลที่ ๔ กำหนดให้เป็นหน้าที่พระสงฆ์วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม สวดนวัคคหายุสมธัมม์) หน้าพระทวารกลางตั้งแท่นปูผ้าขาวตั้งบัตรนพเคราะห์ยอดวางบุษบกประดิษฐานเทวรูปนพเคราะห์มีธงเครื่องกระยาบวช ดอกไม้สี ธูปเทียนตามกำลังเทวดา
แนวผนังด้านใต้ทอดพระราชอาสน์และตั้งเก้าอี้สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์องคมนตรีและข้าราชการเฝ้าฯ
เวลา ๑๖ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐานพระราชวังดุสิตไปยัง พระบรมมหาราชวังรถยนต์พระที่นั่งเทียบที่ประตูเกยหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เสด็จพระราชดำเนินไปยังชานหน้าพระอุโบสถบรรพชิตญวนและจีนถวายพระพรชัยมงคลและถวายดอกไม้เงิน - ทองแล้วเสด็จเข้าสู่พระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงจุดเทียนพระมหามงคลเทียนเท่าพระองค์ แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดเทียนที่พระสงฆ์สวดนวัคคหายุสมธัมม์แล้วจึงทรงจุดธูปเทียนบูชาเทพยดานพเคราะห์ โหรลั่นฆ้องชัย พนักงานประโคมสังข์ แตร ดุริยางค์ พระสงฆ์ ๕ รูปเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ โหรบูชาเทพยดานพเคราะห์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จลงสู่ชานหน้าพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานราชสังคหวัตถุ(๑) แก่ข้าทูลละอองพระบาทผู้สูงอายุแล้วเสด็จพระราชดำเนินออกจากพระอุโบสถไปประทับรถยนต์พระที่นั่งประตูหลังวัดพระศรีรัตนศาสดารามไปเทียบหน้าพระทวาร เทเวศร์รักษา เสด็จเข้าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์ กองประกาศิต สำนักนายกรัฐมนตรี อ่านประกาศกระแสพระบรมราชโองการสถาปนาสมณศักดิ์ สมเด็จพระราชาคณะและรองสมเด็จพระราชาคณะ จบแล้ว พระสงฆ์ ๑๐ รูปเจริญชัยมงคลคาถาชาวพนักงานประโคมฆ้องชัย สังข์ แตร ดุริยางค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนสุพรรณบัฏหิรัญบัฎ พัดยศ ผ้าไตร แด่พระสงฆ์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ แต่ถ้าปีใดไม่สถาปนาสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จพระราชาคณะและรอง สมเด็จพระราชาคณะ ไม่มีการอ่านประกาศพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานสัญญาบัตร พัดยศ และผ้าไตร พระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ออกไปครองผ้าเรียบร้อยแล้วกลับมานั่งยังอาสนะถวายอนุโมทนา สมเด็จพระราชคณะถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา นิมนต์พระสงฆ์ ๖๐ รูป(๒) ซึ่งจะเจริญพระพุทธมนต์การพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาขึ้นนั่งยังอาสนะในพระที่นั่งตามลำดับ พระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดเทียนพระมหามงคลเทียนเท่าพระองค์ และทรงจุด ธูปเทียนบูชาพระพุทธรูปเทวรูปองค์เสวย พระพุทธรูปองค์แรก แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการที่หน้าแท่นราชบัลลังก์เจ้าหน้าที่กอง ศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา อาราธนาศีล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงศีลแล้ว พระสงฆ์เจริญพระพุททมนต์และเมื่อถึงบทเสกทำน้ำพระพุทธมนต์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดเทียนที่ครอบพระกริ่งถวายสมเด็จพระสังฆราช ทรงเสกน้ำ พระพุทธมนต์เสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาลทักษิณทางพระทวารเทวราชมเหศวร์ ทรงจุดเทียนพระมหามงคลบูชาพระสยามเทวาธิราช ๑(๓) แล้วเสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ขณะพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์การพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ เมื่อถวายพระพรลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินกลับ
การแต่งกาย แต่เครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายจุลจอมเกล้า
อนึ่ง ในวันนี้ตั้งแต่ ๙ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา สำนักพระราชวังได้จัดที่สำหรับลงพระนามและลงนามถวายพระพรไว้ที่ในพระบรมมหาราชวัง


เลี้ยงพระ
วันที่ ๖ ธันวาคม เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐานพระราชวังดุสิต ไปยังพระบรมมหาราชวัง เสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทรงจุดเทียนบูชาพระสยามเทวาธิราช ๑ คู่ แล้วเสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยทางพระทวารราชมเหศวร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาลปัจจุบัน ทรงจุดเทียนบูชาพระพุทธรูปเทวรูปองค์เสวย พระพุทธรูปเทวรูปองค์แทรกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการพระสงฆ์ ๖๐ รูป ที่เจริญพระพุทธมนต์แต่วันก่อนและพระสงฆ์ที่สวดนวัคหายุสมธัมม์ ๕ รูป ถวายพรพระจบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนภัตตาหารแต่สมเด็จพระสังฆราชและประทับทรงปฏิบัติสมเด็จพระสังฆราช พระสงฆ์นอกนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ทรงประเคนตามลำดับพระสงฆ์รับพระราชทานฉันแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดเทียนดูหนังสือเทศน์พระราชทานเจ้าหน้าที่นำไปตั้งที่จงกลธรรมาสน์เทศน์ เจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา อาราธนาธรรม สมเด็จพระสังฆราช ถวายศีลและถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเศษ(พระธรรมเทศนามงคลวิเศษ เริ่มถวายเมื่อวันบรมราชาภิเษกเป็นราชธรรมจริยานุวัตรที่พระมหากษัตริย์พึงปฏิบัติยึดถือ การถวายพระธรรมเทศนานี้เป็นกิจของสมเด็จพระสังฆราช นำมาใช้ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา แต่ถ้าสมเด็จพระสังฆราชประชวรหรือไม่สามารถที่จะถวายพระธรรมเทศนาได้จะมอบหมายให้สมเด็จพระราขาคณะ รูปอื่นถวายแทนต้องการบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตก่อน) ซึ่งพรรณนาถึงพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงปฏิบัติในรอบปีที่ผ่านมาโดยหลักที่ทรงปฏิบัติตามทศพิธราชธรรมจักรวรรดิวัต จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมแด่สมเด็จพระสังฆราชและพระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เจ้าหน้าที่ศุภรัต กองพระราชพิธี จะได้กราบบังคมทูลรายงานทรงพระราชอุทิศนำสัตว์ซึ่งในรัชกาลก่อน ๆ มี หมู วัว ไก่ เป็ด ปลา ไปปล่อย ในรัชกาลปัจจุบันมีเฉพาะแต่ปลานำไปปล่อยที่ท่าราชวรดิษฐ์โดยเจ้าพนักงานทูลเชิญพระราชวงศ์องค์ใดองค์หนึ่งไปทรงปล่อยที่แม่น้ำเจ้าพระยา ใช้น้ำจากพระเต้าที่ทรงหลั่งทักษิโณทกเทตามไปกับปลาที่ปล่อย


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปประทับรถยนต์พระที่นั่งที่พระทวารเทเวศร์รักษา เสด็จพระราชดำเนินกลับ
เจ้าพนักงานตั้งบายศรีแก้ว ทอง เงิน เวียนเทียนสมโภชดวงพระบรมราชสมภพ มีประโคม สังข์ แตรดุริยางค์ เมื่อเวียนเทียนครบ ๓ รอบแล้ว หัวหน้าพราหมณ์เจิมดวงพระบรมราชสมภพ
การแต่งกาย เครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายช้างเผือก
คณะทูตเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล
การถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของคณะทูตานุทูตในรัชกาลปัจจุบันแต่เดิมมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดเฝ้าฯ ถวายพระพร ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นงานเต็มยศในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุบรรจบครบ ๕๐ พรรษา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเป็นถวายพระพรชัยมงคล ณ ศาลาดุสิตาลัย สวนจิตรลดา พระราชทานเลี้ยงน้ำชาเป็นเกียรติแก่คณะทูตานุทูตเป็นพิเศษจากที่เคยมา และโปรดเกล้าฯให้เป็นงานแต่งกายแบบสากล และโปรดเกล้าฯให้ถือปฏิบัติในปีต่อมา มีรายละเอียดดังนี้
วันที่ ๗ ธันวาคม เวลา ๑๗ นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐานไปยังศาลาดุสิดาลัย เสด็จฯ ผ่านพระราชอาสน์ไปทรงยืนที่พระสุจหนี่ที่ทอดถวายไว้ สมุหพระราชมณเทียร กราบบังคมทูลเบิกคณบดีคณะทูตเฝ้าฯถวายพระพรชัยมงคล จบคำถวายพระพรของคณบดี คณะทูตแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอบ จบ วงดุริยางค์ซึ่งอยู่ที่สนามข้างศาลาดุสิดาลัย บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินนำคณะทูตานุทูตไปยังสนามด้านตะวันตกของศาลาดุสิดาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมุหพระราชมณเฑียรนำคณะทูตานุทูตตามเสด็จฯ เพื่อรับพระราชทานเลี้ยงน้ำชาและเครื่องว่างและโปรดเกล้าฯ ให้เชิญองคมนตรี คณะรัฐมนตรี และข้าราชการผู้ใหญ่บางท่านไปเฝ้าฯรับพระราชทานเลี้ยงน้ำชาด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปฏิสันถารกับคณะทูตานุทูตตามพระราชอัธยาศัย สมควรแก่เวลา เสด็จขึ้นดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเสร็จสิ้น งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
เนื่องในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลขาธิการพระราชวังออกบัตรกราบทูลและเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี รัฐมนตรี คณะทูตานุทูต ข้าราชการฝ่ายทหาร ตั้งแต่ยศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ขึ้นไป ข้าราชการฝ่ายพลเรือนตั้งแต่ชั้นเอกขึ้นไป ตลอดจนพ่อค้าคหบดีและผู้มีเกียรติอื่น ๆ ที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ มารับพระราชทานเลี้ยงงานนี้เรียกว่า ราชอุทยานสโมสร ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ ๘ ธันวาคม เวลา ๑๗ นาฬิกา ณ บริเวณสวนศิวาลัย ในพระบรมมหาราชวัง แต่งกายเครื่องแบบครึ่งยศ แต่งานนี้เมื่อบ้านเมืองอยู่ในภาวะไม่ปรกติก็โปรดเกล้าฯ ให้งด
อนึ่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ รัฐบาลสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศให้วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นวันสำคัญของชาติ มีการเฉลิมฉลองดังข้อความในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อไปนี้
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย
ด้วยคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นว่า ตามที่ได้กำหนดให้มีการเฉลิมฉลองชาติไทยในวันที่ ๒๔ มิถุนายน นั้น ได้ปรากฏในภายหลังว่า มีข้อที่ไม่เหมาะสมหลายประการ ในด้านประชาชนและหนังสือพิมพ์ได้เสนอแนะให้พิจารณาในเรื่องนี้หลายครั้งหลายคราว คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาโดยมี พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
คณะกรรมการนี้ได้พิจารณาแล้ว เสนอความเห็นว่า ประเทศต่าง ๆ ที่เลือกถือวันใดวันหนึ่งที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องในชาติต่าง ๆ กัน โดยถือเอาวันประกาศเอกราช วันอิสรภาพ วันตั้งถิ่นฐานวันสาธารณรัฐ วันสถาปนาพระราชวงศ์บ้าง ซึ่งไม่เหมือนกัน แต่ละประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติโดยทั่วไปนั้นได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติเช่น ประเทศอังกฤษ เนเธอแลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน ญี่ปุ่น ฯลฯ เป็นต้น แม้ประเทศไทยเราเองก็ได้ถือเอาวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยมานานแล้ว เพิ่มจะมากำหนดเอาวันที่ ๒๔ มิถุนายน เป็นวันชาติเพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่งในระยะหลังนี้เอง
คณะกรรมการฯ จึงมาความเห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามขนบประเพณีของประเทศที่พระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นการสมัครสมานสามัคคีรวมจิตใจของบุคคลในชาติโดยทั่วกัน จึงสมควรจะถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยต่อไป โดยยกเลิกวันชาติในวันที่ ๒๔ มิถุนายน เสีย
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบด้วยจึงได้ลงมติยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๘๑ เรื่องวันชาติ นั้นเสีย และให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยด้วย ต่อไปตั้งแต่บัดนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๓
เนื่องด้วยประกาศให้ถือวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติ รัฐบาลจึงได้กำหนดมีงานสโมสรสันติบาตรที่ทำเนียบรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีได้ออกบัตรกราบทูลเชิญและเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี คณะทูตานุทูต ผู้มีเกียรติทั้งไทยและต่างประเทศ ข้าราชการผู้ใหญ่ทุกกระทรวง ทบวง กรม ไปในงานนี้เพื่อถวายพระพรชัยมงคล การแต่งกายเครื่องแบบเต็มยศ
อนึ่ง ก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษากองทัพไทยได้จัดให้กรม กองทหารรักษาพระองค์ทุกเหล่าทำพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ลานพระราชวังดุสิตบริเวณพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง (เปิดประทุน) มีนายทหารราชองครักษ์เชิญธงชัยราชกระบี่ยุทธ ครุฑพ่าห์ขึ้นรถนำเสด็จฯ และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ตามเสด็จ เมื่อทรงตรวจพลเสร็จแล้วเสด็จฯ ประทับพลับพลา กองทหารถวายคำสัตย์ปฏิญาณ ถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบ แล้วทอดพระเนตรทหารเดินสวนสนามตามลำดับ แล้วเสด็จฯกลับ
การแต่งกาย เครื่องแบบเต็มยศ
(คัดลอกจากหนังสือ ศิลปวัฒนธรรมไทย เล่ม ๓ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม กรุงรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๒๕)

วันพ่อแห่งชาติ

วันพ่อแห่งชาติ
ความหมาย
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๕๘๗) พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายคำว่า “พ่อ” ไว้ดังนี้
พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตน
พุทธศาสนา (สำนักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ทรรศนะเกี่ยวกับสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์โดยสังเขป หน้า ๑๐๐) ได้ให้ความหมายของคำว่า “พ่อ” หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น
- บิดา (พ่อ)
- ชนก (ผู้ให้กำเนิด)
- สามี (ผัวของแม่) เป็นต้น
ความเป็นมาของวันพ่อ (สุภักดิ์ อนุกูล วันสำคัญของไทย, หน้า ๑๑๕ - ๑๑๗)

วันพ่อแห่งชาติในประเทศไทย
วันพ่อแห่งชาติในประเทศไทยตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชโดยจัดติดต่อกันทุกปีตั้งแต่ พ.ศ. 2523 โดยการริเริ่มของ นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา คุณหญิงเนื้อพิทย์ เสมรสุต สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันพ่อได้แก่ ดอกพุทธรักษาซึ่งมีชื่ออันเป็นมงคล
วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ในประเทศไทย นอกจากจะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และเป็นวันพ่อแห่งชาติแล้ว ยังถือว่าวันนี้ เป็น “วันชาติของไทย” อีกด้วย
ประวัติ
วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา หลักการและเหตุผลที่มีการจัดตั้งวันพ่อขึ้นแห่งชาติ เนื่องจากพ่อ เป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนและตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะ “พ่อแห่งชาติ” ซึ่งนอกจากพระองค์จะเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงทะนุบำรุงพระราชโอรสธิดาด้วยความรัก และทรงอบรมอนุศาสน์ให้ทรงเจริญวัยสมบูรณ์ ทรงเป็น "พ่อ" ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา อีกทั้งยังทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน ทรงพระมหากรุณาทะนุบำรุงขจัดทุกข์ผดุงสุขพสกนิกรถ้วนหน้า พระองค์ทรงเป็น “พ่อแห่งชาติ” ที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการทะนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้วัฒนาถาวรสืบไป
ดังบทร้อยกรองเทิดพระเกียรติว่า
“อันราชาเลี้ยงรักษาซึ่งทวยราษฎร์ ประดุจเป็นปิตุราชอยู่ทุกเมื่อควรที่บุตรสุดรักจักจุนเจือ
พระคุณนั้นให้อะเคื้อด้วยภักดี
และอีกบทหนึ่งเทิดพระเกียรติว่า
“ทุกบุปผามาลัยคือใจราษฎร์ ภักดีบาทองค์บพิตรเป็นนิจสินพระคือบิดาข้าแผ่นดิน
ร่วมร้อยรินมาลัยถวายพระพร ลุ ๕ ธันวามหาราช
“วันพ่อแห่งชาติ” คือองค์อดิเรก พระเปี่ยมล้นด้วยเมตตาเอื้ออาทร พสกนิกรเป็นสุขทุกคืนวัน”
คณะกรรมการจัดงานวันพ่อแห่งชาติได้กำหนดให้ ดอกพุทธรักษา ดอกไม้ที่มีนามเป็นมงคลนี้เป็นสัญลักษณ์

วัตถุประสงค์ของการจัดวันพ่อแห่งชาติ
เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ
เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน
กิจกรรม
กิจกรรมในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในทุกๆ ปี จะมีการประดับธงชาติในทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ราชการ โรงเรียน บริษัท และบ้านเรือน เพื่อถวายพระพรให้พระองค์ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน และยังมีการทำความสะอาดแม่น้ำลำคลอง ถนน โรงพยาบาล และประดับรูปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไว้ที่หน้าบริษัทหรือหน่วยงานต่างๆ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย
กิจกรรมสำหรับลูกในวันพ่อแห่งชาติ คือ ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน จัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ หรือบำเพ็ญกุศล ทำบุญใส่บาตร เพื่ออุทิศส่วนกุศล และระลึกถึงพระคุณของพ่อ
นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมประกาศเกียรติคุณ พ่อตัวอย่าง หรือพ่อดีเด่น โดยกำหนดคุณสมบัติ คือ มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ส่งเสริมการศึกษาของบุตร ธิดา นับถือศาสนาโดยเคร่งครัด งดเว้นอบายมุขทุกชนิด อุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชน และมีภรรยาเพียงคนเดียว
อ้างอิง
http://th.wikipedia.org
คัดลอกมาจากเวบของสถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก http://www.childthai.org/