วันที่ 23 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันชาติสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ซึ่งประกาศแยกตัวจากอินเดีย เพื่อปกครองตัวเอง ภายใต้การ
มีการแบ่งการปกครองออกเป็นแคว้นต่าง ๆ ๔ แคว้น และดินแดนอีก ๔ ดินแดน .......
ได้แก่
๑. แคว้นบาลูจิสถาน (Balochistan) เมืองหลวงชื่อ เคว็ทต้า
๒. แคว้นนอร์ท-เวสต์ฟรอนเทียร์ (North-West Frontier Province: NWFP) เมืองหลวงชื่อ เปชาวาร์
๓. แคว้นปัญจาบ (Punjab) เมืองหลวงชื่อ ละฮอร์
๔. แคว้นซินด์(Sindh) เมืองหลวงชื่อ การาจี
กระเช้าลอยฟ้าที่ซาฟารี ปาร์ค เมืองการาจี....
หนึ่งในความงามบนดินแดนความขัดแย้ง......แห่งอาซาดแคชเมียร์....
.... นอกจากนี้ในแคว้นนอร์ท-เวสต์ฟรอนเทียร์และบาลูจิสถานก็ยังมีพื้นที่ชนพื้นเมืองที่จังหวัดบริหาร ( Provincially Administered Tribal Areas: PATA ) ด้วย ซึ่งคาดว่าพื้นที่เหล่านี้จะพัฒนาเป็นเขตปกติต่อไป
ดินแดนอีก ๔ แห่ง ได้แก่
๑. ดินแดนอิสลามาบัดแคพิทอลเทร์ริทอรี (Islamabad Capital Territory)
๒. พื้นที่ชนพื้นเมืองที่ส่วนกลางบริหาร (Federally Administered Tribal Areas)
- ส่วนของเขตแคชเมียร์ที่ปากีสถานบริหาร (Pakistani-administered portions of Kashmir region)
๓. อาซาดแคชเมียร์ (Azad Kashmir; azad ในภาษาอูรดูแปลว่า "เสรี") เมืองหลวงชื่อ มูซาฟฟาราบัด
๔. พื้นที่ทางเหนือ (Northern Areas)
ในภาพ : แสดงแผนที่ประเทศปากีสถาน
--------------------------------------------------------------------------------
ประเทศปากีสถาน เป็นประเทศที่ผ่านประวัติศาสตร์ร่วมกับอินเดียมายาวนานกว่า 5,000 ปี .....
อาณาเขตของประเทศปากีสถานในปัจจุบันเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอินเดียโบราณ/ชมพูทวีป ซึ่งเคยถูกปกครองโดยชาวอารยัน เปอร์เซีย มาเซโดเนีย กลุ่มชนจากเอเชียกลาง อาณาจักรออตโตมัน ชาวอาหรับ และจักรวรรดิ์โมกุลตามลำดับ จนถึงช่วงคริสตศตวรรษที่ ๑๗ จักรวรรดิอังกฤษได้ขยายอิทธิพลมายังอินเดียและดินแดนต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้แทนที่จักรวรรดิ์โมกุลที่เสื่อมอำนาจลง และต่อมาอังกฤษสามารถปกครองอนุทวีปเอเชียใต้นี้ได้โดยสมบูรณ์
..... ในยุคอาณานิคมนั้น ดินแดนปากีสถานในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย และชาวมุสลิมในอินเดียได้ดำเนินการเผยแพร่ความคิดที่จะสถาปนาดินแดนอิสระของชาวมุสลิม (separate Muslim state) ขึ้นในอินเดีย ระหว่างปี ๒๔๘๐-๒๔๘๒ (ค.ศ. ๑๙๓๗-๑๙๓๙) กลุ่มชาวมุสลิมรวมตัวกันภายใต้ชื่อ All-India Muslim League และผลักดันข้อเสนอดังกล่าว จนฝ่ายปกครองเห็นชอบกับข้อมติที่เรียกกันว่า Pakistan Resolution เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๔๘๓ (ค.ศ. ๑๙๔๐) จึงเกิดดินแดนที่มีชาวมุสลิมเป็นชนส่วนใหญ่ขึ้นในอนุทวีปเอเชียใต้ ในนามดินแดนปากีสถาน
..... ต่อมาอินเดียได้เรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ จนประสบความสำเร็จในวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๔๙๐ (ค.ศ. ๑๙๔๗) และทำให้ปากีสถานมีสถานะเป็นประเทศอีกประเทศหนึ่งแยกจากอินเดีย โดยแบ่งดินแดนปากีสถานในขณะนั้นเป็น ๒ ส่วน คือ ปากีสถานตะวันตกและปากีสถานตะวันออก( ปัจจุบันคือประเทศบังกลาเทศ ) โดยมีควาอิด-อาซาม มูฮัหมัด อาลี จินนาห์เป็นผู้นำประเทศคนแรกในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ (ขณะนั้นยังไม่มีตำแหน่งประธานาธิบดี) และเป็นบุคคลที่ชาวปากีสถานยกย่องเป็นบิดาของประเทศ (Father of the Nation) ซึ่งต่อมาในปี ๒๕๑๔ (ค.ศ. ๑๙๗๑) ปากีสถานตะวันออกได้แยกตัวเป็นประเทศบังกลาเทศในปัจจุบัน
................................................................................................
ในภาพ : ท่านมูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ บิดาแห่งปากีสถาน
เมื่อครั้งที่ท่านจินนาห์และท่านมหาตมะ คานธี ร่วมมือกันต่อต้านรัฐบาลอังกฤษ( คงเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่ยากจะลืมเลือนสำหรับภาพทั้งสองบิดาของสองประเทศปากีสถานและอินเดีย ) .....
หน่วยเงินรูปี ปากีสถาน
หญิงชาวปากีสถานในชุดตามขนบธรรมเนียม ....
อิสลามิกชนชาวปากีสถานหน้ามัสยิมชาห์ ไฟซาล
หน่วยเงินรูปี ปากีสถาน
จักรวรรดิโมกุล (เปอร์เซีย: سلطنت مغولی هند; อูรดู: مغلیہ سلطنت; อังกฤษ: Mughal Empire) เป็นจักรวรรดิซึ่งปกครองบริเวณอนุทวีปอินเดียในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 19[2] จักรวรรดินี้สืบทอดอำนาจมาจากราชวงศ์ตีมูร์ เริ่มก่อตั้งอาณาจักรในปี ค.ศ. 1526 ยุครุ่งเรืองที่สุดของอาณาจักรอยู่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 และครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ในอนุทวีปอินเดีย นับแต่อ่าวเบงกอลทางตะวันออกไปจนถึง Balochistan ในทางตะวันตก และจากแคว้นแคชเมียร์ทางเหนือไปจนถึง Kaveri ในทางใต้[3] ประชากรของจักรวรรดิในยุคนั้นมีประมาณ 110-150 ล้านคน ดินแดนในครอบครองมีมากกว่า 3.2 ล้านตารางกิโลเมตร[1]
ยุคคลาสสิกของจักรวรรดินี้เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1556 ด้วยการขึ้นครองราชย์ของจาลาลุดดิน โมฮัมหมัด อัคบาร์ หรือที่รู้จักในนาม "อัคบาร์มหาราช" ภายใต้การปกครองของอัคบาร์มหาราชนี้ อินเดียเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าทั้งทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม รวมถึงมีสันติสุขระหว่างศาสนา อาณาจักรโมกุลยังได้เป็นพันธมิตรกับอาณาจักรฮินดูในราชวงศ์ราชบุตรหลายแห่ง แม้จะยังมีอาณาจักรราชบุตรหลายแห่งแข็งข้อต่อจักรวรรดิโมกุลอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย แต่ในที่สุดก็จำนนต่อจักรพรรดิอัคบาร์[4][5] ยุคทองแห่งสถาปัตยกรรมโมกุลคือยุคของพระเจ้าชาห์เชฮัน จักรพรรดิองค์ที่ 5 ซึ่งได้โปรดให้สร้างอนุสาวรีย์อันงดงามวิจิตรขึ้นจำนวนมาก ที่มีชื่อเสียงที่สุดในบรรดานี้คือ ทัชมาฮาลแห่งอัครา รวมไปถึง มัสยิดเพิร์ล, ป้อมแดง, มัสยิดจามา และ ป้อมละฮอร์ จักรวรรดิโมกุลขึ้นถึงจุดสูงสุดในการแผ่ขยายอาณาเขตในรัชสมัยของออรังเซบ ซึ่งอาจเป็นมนุษย์ที่ร่ำรวยที่สุดและมีอำนาจมากที่สุดของโลก ในช่วงพระชนม์ของพระองค์ จักรวรรดิโมกุลแผ่อาณาเขตไปทางใต้มากกว่า 1.25 ล้านตารางไมล์ และปกครองไพร่แผ่นดินมากกว่า 150 ล้านคน หรือคิดเป็นเกือบ 1 ใน 4 ของประชากรโลกทั้งหมด
อาณาเขต โมกุล (เนปาลยุคโบราณ)
ธงชาติปากีสถานปัจจุบัน มีลักษณะเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในแบ่งเป็น 2 ส่วนตามแนวตั้ง ตอนต้นพื้นสีขาว กว้างเป็น 1 ใน 4 ส่วนของความยาวธง ส่วนที่เหลือเป็นพื้นสีเขียว ภายในมีรูปพระจันทร์เสี้ยวและดาวห้าแฉกสีขาว ธงนี้ออกแบบโดย ไซเอ็ด อาเมียร์ อุดดิน เก็ดวาอี (Syed Amir uddin Kedwaii) โดยอาศัยต้นแบบจากธงสันนิบาตมุสลิม (Muslim League) สภาแห่งชาติปากีสถานได้ประกาศให้ใช้ธงนี้เป็นธงชาติ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2490 ก่อนหน้าการประกาศเอกราชจากบริติชราชในวันถัดมา
ในเพลงชาติปากีสถาน ได้กล่าวถึงธงชาติไว้ในชื่อ "ธงเดือนเสี้ยวและดาว" (ภาษาอูรดู: Parcham-e-Sitāra-o-Hilāl)
ความหมายเพลงชาติปากีสถาน
Blessed be the sacred land Happy be the bounteous realm Thou symbol of high resolve
O Land of Pakistan! Blessed be the centre of faith
The order of this sacred land Is the might of the brotherhood of the people
May the nation, the country, and the state Shine in glory everlasting!
Blessed be the goal of our ambition
The flag of the crescent and star Leads the way to progress and perfection
Interpreter of our past, glory of our present Inspiration of our future!
Shelter of God, the Glorious and Mighty
มัสยิดชาห์ ไฟซาลมองจากระยะไกล ......บนภูเขาและเส้นทางอันคดเคี้ยว
อ้างอิง
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/03/K7607367/K7607367.html
http://www.pakxe.com/home/modules.phpname=Content&pa=showpage&pid=303 วิกีพีเดีย