คำ Hallow ยังแปลว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ศักดิ์สิทธิ์ นักบุญ คำ All Hallowmas จึงแปลว่า วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย ในปัจจุบันใช้คำว่า All Saints Day คู่กับ Christmas ซึ่งแปลว่า วันสมโภชพระคริสต์หรือ คริสต์มาสนั่นเอง วันก่อนวันสมโภชคริสต์มาสมี Chrismas Eve ที่นิยมเรียกว่า คืน (ก่อน) คริสต์มาส วันก่อนวันสมโภชนักบุญทั้งหลายก็มี All Hallowmas Eve ซึ่งต่อมาย่อเป็น Halloween โดยมีงานรื่นเริงและพิธีกรรมทางศาสนาเช่นเดียวกับคืนคริสต์มาส ชาวคาทอลิกพร้อมใจกันเลื่อนพิธีกรรมทาง ศาสนา ไปหลังวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย และเรียกว่า วันวิญญาณในแดนชำระ (All Souls Day) เพื่อให้คู่กับวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย (All Saints Day)
ตำนานวันฮาโลวีน
วันที่ 31 ต.ค. เป็นวันที่ชาวเคลต์ (Celt) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในไอร์แลนด์ ถือกันว่า เป็นวันสิ้นสุดของฤดูร้อน และวันต่อมา คือ วันที่ 1 พ.ย. เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งในวันที่ 31 ต.ค. นี่เองที่ชาวเคลต์เชื่อว่า เป็นวันที่มิติคนตาย และคนเป็นจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตในปีที่ผ่านมาจะเที่ยวหาร่างของคนเป็นเพื่อสิงสู่ เพื่อที่จะได้มีชีวิตขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทีนี้ก็เดือดร้อนถึงคนเป็นละซิ ต้องหาทุกวิถีทางที่จะไม่ให้ วิญญาณ มาสิงสู่ร่างตน ชาวเคลต์จึงปิดไฟทุกดวงในบ้าน ให้อากาศหนาวเย็น และไม่เป็นที่พึงปรารถนาของบรรดาผีร้าย นอกจากนี้ยังพยายามแต่งกายให้แปลกประหลาด ประมาณว่า ปลอมตัวเป็นผีร้ายไปเลย ไม่ใช่มนุษย์นะ และส่งเสียงดังอึกทึก เพื่อให้ผีตัวจริงตกใจหนีหายสาบสูญไปเลย
ตำนานยังเล่าถึงขนาดว่า มีการเผา "คนที่คิดว่าถูก ผี ร้ายสิง" เป็นการเชือดไก่ให้ผีกลัวอีกต่างหาก แต่นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนคริสต์กาล ที่ความคิดเรื่องผีสางยังฝังรากลึกในจิตใจมนุษย์ ต่อมาในศตวรรษแรกแห่งคริสต์กาล ชาวโรมันรับประเพณีฮาโลวีนมาจากชาวเคลต์แต่ได้ตัดการเผาร่างคนที่ถูกผีสิงออก เปลี่ยนเป็นการเผาหุ่นแทน กาลเวลาผ่านไป ความเชื่อเรื่องผีจะสิงสูร่างมนุษย์เสื่อมถอยลงตามลำดับ ฮาโลวีนกลายเป็นเพียงพิธีการ การแต่งตัวเป็นผี แม่มด สัตว์ประหลาดตามแต่จะสร้างสรรค์กันไป ประเพณีฮาโลวีนเดินทางมาถึงอเมริกาในทศวรรษที่ 1840 โดยชาวไอริชที่อพยพมายังอเมริกา สำหรับประเพณี ทริกออร์ทรีต (Trick or Treat) นั้น เริ่มขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยชาวยุโรป ซึ่งถือว่า วันที่ 2 พ.ย. เป็นวัน "All Souls" พวกเขาจะเดินร้องขอ "ขนมสำหรับวิญญาณ" (soul cake) จากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง โดยเชื่อว่า ยิ่งให้ขนมเค้กมากเท่าไร วิญญาณของญาติผู้บริจาคก็ได้รับผลบุญ ทำให้มีโอกาสขึ้นสวรรค์ได้มากเท่านั้นส่วนตำนานที่เกี่ยวกับฟักทองนั้น เป็นตำนานพื้นบ้านของชาวไอริช ที่กล่าวถึง Jack-o-lantern ซึ่งเป็นนักเล่นกลจอมขี้เมา วันหนึ่งเขาหลอกล่อปีศาจขึ้นไปบนต้นไม้ และเขียนกากบาทไว้ที่โคนต้นไม้ ทำให้ปีศาจลงมาไม่ได้ จากนั้นเขาได้ทำข้อตกลงกับปีศาจ 'ห้ามนำสิ่งไม่ดีมาหลอกล่อเขาอีก' แล้วเขาจะปล่อยปีศาจลงจากต้นไม้ เมื่อแจ็คตายลง เขาปฏิเสธที่จะขึ้นสวรรค์ ขณะเดียวกันปฏิเสธที่จะลงนรก ปีศาจจึงให้ถ่านที่กำลังคุแก่เขา เพื่อเอาไว้ปัดเป่าความหนาวเย็นท่ามกลางความมืดมิด และแจ็คได้นำถ่านนี้ใส่ไว้ในหัวผักกาดเทอนิพที่ถูกเจาะให้กลวง เพื่อให้ไฟลุกโชติช่วงได้นานขึ้น ชาวไอริชจึงแกะสลักหัวผักกาดเทอนิพ และใส่ไฟในด้านใน อันเป็นอีกสัญลักษณ์ของวันฮาโลวีน เพื่อระลึกถึง "การหยุดยั้งความชั่ว" Trick or Treat เพื่อส่งผลบุญให้กับญาติผู้ล่วงลับ และพิธีทางศาสนาเพื่อทำบุญวันปีใหม่ แต่เมื่อมีการฉลองฮาโลวีนในสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกาพบว่า ฟักทองหาง่ายกว่าหัวผักกาดมาก จึงเปลี่ยนมาใช้ฟักทองแทน หัวผักกาดจึงกลายเป็นฟักทองด้วยเหตุผลฉะนี้
ประเพณีวันฮาโลวีนอังกฤษ
ที่ประเทศนี้ถือว่าวันฮาโลวีนนี้เป็นวันดี เหมาะสำหรับจัดงานแต่งงาน การทำนายโชคชะตา หรือแม้แต่เรื่องความตายยังถือว่า วันนี้เป็นเพียงวันเดียวที่ภูติผีวิญญาณจะช่วยดลบันดาลให้สิ่งที่คนเป็นต้องการสามารถเป็นไปตามใจปรารถนา ประมาณเที่ยงคืนของวันฮาโลวีนสาวอังกฤษจะออกมาหว่าน และไถกลบเมล็ดป่าน พร้อมตั้งจิตอธิษฐาน และท่องคาถาร้องขอให้มองเห็นภาพของว่าที่คู่ชีวิตของตนในอนาคต เมื่อสาวเจ้าเหลียวมองผ่านบ่าด้านซ้ายก้จะได้เห็นภาพนิมิตของผู้ที่จะมาเป็นสามีของตนในอนาคต
อีกประเพณีหนึ่งของชาวอังกฤษ คือ การหย่อนเหรียญ 6 เพนนีลงในอ่างน้ำ พร้อมแอปเปิ้ล ผู้ใดสามารถแยกแยะของสองสิ่งนี้ออกจากกันได้โดย ใช้ปากคาบเหรียญ และใช้ส้อมจิ้มแอปเปิ้ลให้ติดได้ในครั้งเดียว ผู้นั้นจะมีโชคดีตลอดปีใหม่ที่กำลังจะมาเยือน
ประเพณีวันฮาโลวีนสหรัฐอเมริกา
ประเพณีของประเทศมหาอำนาจนี้ดูจะเป็นที่รู้จักแพร่หลายกว่าประเพณีของชาวอังกฤษ นั่นก็คือ ประเพณี Trick or Treat ที่จะให้เด็กๆ แต่งหน้า แต่งตัวเป็นผีเดินไปเคาะประตูตามบ้านต่างๆ เพื่อร้องขอขนมเค้กสำหรับวิญญาณ (Soul cake) พร้อมกับส่งเสียงทักทายว่า "Trick or Treat" หากเจ้าของบ้านตอบว่า Trick จะถูกเด็กๆ แกล้ง แต่ถ้าตอบว่า Treat เจ้าของบ้านหลังนั้นก็ต้องนำขนมเค้กมาให้พวกเด็กจนกว่าเขาจะพอใจ
เด็กที่แต่งตัวเป็นภูติผีวิญญาณเปรียบเหมือนสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างคนเป็นและคนตาย โดยเจ้าของบ้านที่ให้ขนมแก่เด็กๆ สามารถฝากคำอธิษฐานไปถึงคนตายได้ด้วย ดังนั้น ยิ่งเด็กๆ ขอขนมได้มากเท่าใด วิญญาณที่ยังเวียนวนอยู่ในรกก็จะยิ่งได้รับส่วนบุญ และมีโอกาสขึ้นสวรรค์มากยิ่งขึ้นด้วย
ปัจจุบัน ประเพณีของทั้งสองประเทศคงเหลือแต่เพียง การแต่งกายปลอมตัวเป็นผี เพื่อการพบปะ สังสรรค์ เฮฮากันมากกว่าจะเป็นการระลึกถึงผู้ตายดั่งเช่นแต่เก่าก่อน
เครื่องดื่มวันฮาโลวีน
โดยธรรมเนียมแล้ว วันฮาโลวีน เป็นวันถือศีล และไม่ดื่มสุราหรืออาหารฟุ่มเฟือย อาจมีโซลเค้ก (Soul Cake) ซึ่งเป็น ขนม ตามธรรมเนียมดั้งเดิมของงาน วันฮาโลวีน หรือ อาหาร ที่ไม่ใช่เนื้อ และเมื่อได้รับโซลเค้กให้สวดภาวนาแด่ผู้ล่วงลับเป็นการตอบแทน (อย่างไรก็ดี นี่เป็นละครในงานวัน "ฮาโลวีน" ไม่ใช่พิธีกรรม ดังนั้นการจัดงานเลี้ยงในบ้านเราคงจะต้องมีขนม, น้ำ และอาหารเป็นธรรมดา) ลูกฟักทองแกะสลักหน้าผี, แม่มด, แมว, ผีดิบ, ก่อกองไฟ เหล่านี้ไม่มีรากฐานความเชื่อคาทอลิกในงานวันฮาโลวีน คงเป็นสิ่งที่รับมาจากพิธีกรรมของพวกเซลติกเกี่ยวกับเทพแห่ง ความตาย มารวบรวมวิญญาณคนชั่วช่วงฤดูใบไม้ร่วงหรือฤดูเก็บเกี่ยว (31 ตุลาคม) หรือไม่ก็นำมาใส่ไว้ในช่วงปีหลังๆ ยุคสมัยของเรา
++
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบ